โครงการธนาคารขยะ เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคในชุมชน ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการธนาคารขยะ เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคในชุมชน ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-l3057-1-4 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ |
วันที่อนุมัติ | 23 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 24 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,833.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายวันอัดดนาล วรพิทักษ์นนท์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.733,101.606place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 24 มิ.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 23,833.00 | |||
รวมงบประมาณ | 23,833.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ปัญหาขยะมูลฝอยในตำบลปะเสยะวอนับเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ ขยะ ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งการกำจัดขยะไม่สมดุลกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะ สร้างปัญหาทั้งทางด้านทัศนวิสัย กลิ่น ความสะอาด และอาจก่อให้เกิดปัญหาขยะตกค้างส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของสังคมโดยรวม และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงต่างๆ เช่น ยุง หนู แมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะ นำโรค เช่น ไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เป็นต้น ความไม่รู้ความไม่ตระหนักในการคัดแยกขยะของประชาชน ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้สร้างขยะทั้งสิ้น เป็นต้นเหตุของปัญหาขยะดังกล่าว ขยะ กลายเป็นปัญหาที่เพิ่มปริมาณขึ้นที่ต้องจัดการ หลายๆชุมชนต้องประสบปัญหาเรื่องที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ ประชาชนยังขาดความตระหนักรู้ ขาดความเข้าใจในการจัดการขยะที่เหมาะสมถูกวิธีถูกสุขลักษณะ เช่น การคัดแยกขยะต้นทาง การรีไซเคิลขยะ และการแปรสภาพขยะมูลฝอยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยยังขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากขาดบุคลากรในการดำเนินการและขาดความรู้ในการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ทำให้ชุมชนมีปัญหา เรื่องความสกปรกที่เกิดจากขยะมากมายเหล่านี้ซึ่งมาจากครัวเรือน ชาวบ้านไม่มีการแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้มีขยะ หลายประเภทรวมอยู่ในถุงเดียวกัน ขยะเกิดหมักหมุมเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น เมื่อฝนตกลงมาทำให้น้ำฝนไหลผ่านกองขยะ ลงสู่ลำคลอง ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ดังนั้น เพื่อการจัดการขยะอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทาง ก่อให้เกิดพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงในการหันมาลดปริมาณขยะ แยกประเภทของขยะ นำขยะที่เกิดขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ของประชาชนและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ในชุมชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมจึงจัดทำโครงการธนาคารขยะ เพื่อกำจัดแหล่งเกิดโรคติดต่อต่างๆที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สะอาดอันมีสาเหตุมาจากขยะที่เกิดขึ้นในครัวเรือนและ ขยะสะสม
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากขยะ 1.ลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคที่เกิดจากขยะ |
||
2 | 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการ คัดแยกขยะมูลฝอยที่ถูกต้องและลดปริมาณขยะ 2.ประชาชนได้ความรู้เกี่ยวกับประเภทขยะมูลฝอย มีการลดปริมาณขยะภายในชุมชน |
||
3 | 3.เพื่อเป็นการสร้างรูปแบบการจัดการขยะ โดยชุมชนมีส่วนร่วม 3.เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะโดยชุมชน |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | |
24 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | 1. วัสดุอุปกรณ์ในการจัดเตรียมสถานที่ | 0 | 0.00 | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ลดจำนวนผู้ป่วยจากโรคที่เกิดจากขยะ
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและปริมาณขยะในพื้นที่ลดลงชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดมากขึ้น
3. ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ สะอาด ไร้มลพิษจากขยะ
4. เกิดระบบการจัดการธนาคารขยะที่ดีและมีประสิทธิภาพ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 11:31 น.