โครงการเหาหายสบายหัว
ชื่อโครงการ | โครงการเหาหายสบายหัว |
รหัสโครงการ | 68-L1536-2-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย |
วันที่อนุมัติ | 8 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 6,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายชลอ ลัคนาวิวัฒน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | สำนักเลขานุการกองทุน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.737,99.724place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 76 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
---|
หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้
แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม
รหัสโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการเหาหายสบายหัว
ชื่อกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม
ประเภทการสนับสนุน สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ[ข้อ ๗ (๔)]
หน่วยงาน/กองทุน/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย หน่วยงานอื่นๆ
ชื่อองค์กร/กลุ่มคน (๕ คน) ชื่อองค์กร................................................... กลุ่มคน (ระบุ ๕ คน) ๑............................................... ๒............................................... ๓............................................... ๔............................................... ๕................................................ ระยะเวลาดำเนินโครงการ ระหว่าง วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ถึง วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ งบประมาณ จำนวน .......๖,๘๐๐......... บาท (.....หกพันแปดร้อยบาทถ้วน.......) หลักการและเหตุผล การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพนักเรียนในปี 2567 พบว่านักเรียนเป็นเหา 76 คนคิดเป็นร้อยละ 69.72 ของนักเรียนหญิงทั้งหมดในโรงเรียน โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย จึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาในโรงเรียน และให้ สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาในโรงเรียน ขึ้นเพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
เป้าหมาย เด็กนักเรียนหญิงระดับปฐมวัย - ระดับมัธยมศึกษา ปีที่ ๓ จำนวน.....๗๖...........คน
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านคลองคุ้ย
วิธีดำเนินการ
1. ขั้นเตรียมการ
- ประชุม วางแผน ดำเนินงานและมอบหมายผู้เกี่ยวข้อง ทุกระดับ
- ประสานงาน และส่งแผนการดำเนินงานแก่ผู้อำนวยการโรงเรียน
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ความรู้ในเรื่องเหาและวิธีการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
- จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดเหาในโรงเรียน
- จัดทำหนังสือเชิญเจ้าหน้าที่อนามัยมาให้ความรู้และกำจัดเหา
2. ขั้นดำเนินการ
- เจ้าหน้าที่ อนามัย ปากแจ่ม ให้ความรู้และกำจัดเหา
- ทำหนังสือแจ้งการเป็นเหา และขออนุญาตผู้ปกครองกำจัดเหา (โดยให้นักเรียนนำไปให้ผู้ปกครอง)
- จัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องเหาและวิธีการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
- ดำเนินการตามแผนดำเนินงานโครงการ โดยใช้ยากำจัดเหาในโรงเรียน จำนวนทั้งหมด 2 ครั้ง (ครั้งที่ 1 ใส่ยากำจัดเหาในวันที่จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ครั้งที่ 2 ห่างกัน 2 สัปดาห์)
3. ขั้นสรุปผล
- สรุปและประเมินผลเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนที่เป็นเหา ก่อนและหลังดำเนินโครงการ
- รวบรวมปัญหา/อุปสรรค รายงานคณะกรรมการผู้เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
๒ กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบเหาได้รับการกำจัดเหา
เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด
วัตถุประสงค์โดยตรง
วัตถุประสงค์
๑. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑.จำนวนครั้งที่นักเรียนในโรงเรียน ได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง จำนวน ๑ ครั้ง
๒. นักเรียนในโรงเรียนมีความรู้เรื่องเหาและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง โดยวัดความรู้จากการตอบคำถาม และความสนใจในการรับฟังการอบรม
๒. ใส่ยากำจัดเหาในนักเรียนที่เป็นเหา ๑. นักเรียนในโรงเรียน ที่เป็นโรคเหาได้รับยากำจัดเหาทุกคน
๒. จำนวนครั้งที่นักเรียนในโรงเรียน ได้ใส่ยากำจัดเหา คนละ ๒ ครั้ง ภายในระยะเวลา ๑ เดือน
ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา
โครงการเหาหายสบายหัว
1.1 กิจกรรมย่อย ๑. ครีมกำจัดเหา ขนาด 20 กรัม. จำนวน 150 หลอด ราคา หลอดละ 35 บ. 150 หลอด x 35บาท = 5,250 บ.
๒. ถุงมือยางลาเท็กช์ กล่องละ 100 ชิ้น ราคา จำนวน 4กล่อง ๆละ 180 บาท 180 x 4 = 720 บ.
๓. หวีเสนียด สางเหา สแตนเลส ราคาอันละ 40 บ. จำนวน 20 อัน 40 x 20 = 800 บ.
๔. หมวกคลุมผม 100 ชิ้น / กล่อง ราคากล่องละ 30 บาท จำนวน 1 x 30 = 30 บ.
มกราคม-กุมภาพันธ์ 2568
รวม 6,800 บาท
ถัวเฉลี่ยทุกรายการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 13:27 น.