โครงการรักเป็นปลอดภัยไม่ท้องก่อนวัยห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ชื่อโครงการ | โครงการรักเป็นปลอดภัยไม่ท้องก่อนวัยห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
รหัสโครงการ | 68-L4127-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขฯ องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ |
วันที่อนุมัติ | 11 เมษายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสูรียา อาแว |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวนาซีเราะ ปุโรง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.212,101.291place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง | 75.00 | ||
2 | ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ | 80.00 | ||
3 | ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ | 65.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูลที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเชฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.2552 พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ของไทย มีจำนวนสูงถึง 150,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้เรื่อง เพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่น การนับระยะปลอดภัยหน้า 7 หลัง7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี วันละ 336 ราย เฉลี่ยปีละ 122,640 และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อ รุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดปัญหา ประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์ ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์ ลดลง |
75.00 | 80.00 |
2 | เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ลดลง |
80.00 | 85.00 |
3 | เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ลดลง |
65.00 | 80.00 |
4 | เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ร้อยละของการประเมินความรอบรู้ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น |
65.00 | |
5 | เพื่อสร้างความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียน ร้อยละของการสร้างความตระหนัก และมีความรู้เรื่องพัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนโรงเรียน |
70.00 | |
6 | เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคเอดส์ ในกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละของการป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้แก่ โรคเอดส์ ในกลุ่มเป้าหมาย |
85.00 | |
7 | เพื่อเสริมสร้างทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละของการเสริมสร้างทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
80.00 | |
8 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหา ร้อยละของการเด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ และช่วยเหลือกลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหา |
90.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 | ม.ค. 68 | ก.พ. 68 | มี.ค. 68 | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 | ต.ค. 68 | พ.ย. 68 | ธ.ค. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การเตรียม/วางแผน(P)(1 ต.ค. 2567-30 ธ.ค. 2568) | 0.00 | |||||||||||||||
2 | การดำเนินงานตามแผน (D)(1 ต.ค. 2567-30 ธ.ค. 2568) | 30,000.00 | |||||||||||||||
3 | การประเมิน / รายงานผล (A)(1 ก.ย. 2568-30 ธ.ค. 2568) | 0.00 | |||||||||||||||
รวม | 30,000.00 |
1 การเตรียม/วางแผน(P) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | |
2 การดำเนินงานตามแผน (D) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 120 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ธ.ค. 68 | 1.1 อบรมเชิงปฏิบัติการในการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และระดมสมองป้องกันปัญหาท้องก่อนวัยอันควร | 120 | 30,000.00 | - | ||
3 การประเมิน / รายงานผล (A) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 120 | 0.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ธ.ค. 68 | ขั้นติดตามประเมินผล | 120 | 0.00 | - | ||
วิธีดำเนินการ
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมทีมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
1.2 ประสานการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
1.3 เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ อบต.บาเจาะ
1.3 ประชุมทีมและเครือข่ายเพื่อวางแผนการดำเนินงานใน
2. ขั้นดำเนินงาน
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการให้ความรู้ในกลุ่มนักเรียนขยายโอกาส ในระหว่างวันที่ 26 เดือนมิถุนายน 2568 ประกอบด้วย
1.1 การทดสอบความรู้ก่อนเข้าร่วมการอบรม
1.2 ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และกิจกรรมกลุ่ม
1.3 ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและกิจกรรมกลุ่ม
1.4 ทดสอบความรู้หลังการอบรม
กิจกรรมที่ 2. จัดนิทรรศการให้ความรู้ภายในโรงเรียน
2.1 กำหนดใบงานให้กับนักเรียนทุกชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมในด้านความรู้
3. ขั้นติดตามประเมินผล
3.1 การติดตามประเมินทักษะชีวิตและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
3.2 อัตราการคลอดในวัยรุ่นในพื้นที่ที่ดำเนินการ
3.3 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ
- กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนัก และมีองค์ความรู้เรื่องบทบาทและคุณค่าของการเป็นชาย/หญิง ในสังคม พัฒนาการทางเพศ การจัดการอารมณ์ สัมพันธภาพทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น การเสริมสร้างสุขภาพในกลุ่มนักเรียน
- สามารถป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
- กลุ่มเป้าหมายความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่น และมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการดำรงชีวิต
- สามารถป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 13:29 น.