โครงการออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม
ชื่อโครงการ | โครงการออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะเคี่ยม |
รหัสโครงการ | 68-L1460-01-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคี่ยม |
วันที่อนุมัติ | 17 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 21,673.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคี่ยม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.338,99.515place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 59 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ จากข้อมูลปัจจุบันที่ระบุว่าการ “ขาดการออกกําลังกาย” หรือการ “ขาดกิจกรรมทางกาย” เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับที่ 4 ของการเสียชีวิตทั่วโลกนั้น ในขณะที่ “โรคอ้วน” (Obesity) สามารถนําไปสู่ผลเสียต่อสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อเกือบทุกระบบในร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทําการรักษาโรคเหล่านี้ร่วมกับโรคประจําตัว จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การสนับสนุนให้มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและเพียงพอกับเด็กและบุคคลทุกเพศวัยในแต่ละวันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการกระตุ้นและพัฒนาส่งเสริมให้ร่างกาย หัวใจ ปอด หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และระบบประสาท ได้ทํางานเพิ่มขึ้นกว่าปกติในแต่ละครั้งตามหลักการของการออกกําลังกาย ทําให้เกิดการเผาผลาญและการใช้พลังงานของร่างกายอย่างมีคุณค่าและมีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยตรง นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นและสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอันตรายได้อย่างดี
สื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ สื่อสารต่างๆ หรือสิ่งเร้าที่อยู่รอบตัวนักเรียน เช่น เพื่อน หรือแม้แต่ตัวครูผู้สอน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ทำให้นักเรียนขาดสมาธิในการเรียน การรับฟังไปบางช่วง ส่วนมากจากการสังเกต นักเรียนจะรับฟังข้อมูล จากครูได้ไม่เกิน30นาทีหลังจากนั้นนักเรียนจะขาดสมาธิในการทำงาน หรือรับฟังสิ่งต่างๆ ทำให้เกิด อุปสรรคในการเรียนรู้และรับรู้ของนักเรียน โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit / Hyperativity Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อย ร้อยละ 3-10 ของเด็กวัยเรียน อายุ 5-12 ปี โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3-4 เท่า (วินัดดา ปิยะศิลป์, 2550) การรักษาเด็กสมาธิสั้นที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือ การผสมผสานการรักษาหลายๆ ด้าน ดังต่อไปนี้เข้าด้วยกัน เช่น การกินยาควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการ ช่วยเหลือทางด้านจิตใจสำหรับเด็ก และการช่วยเหลือทางด้านการเรียน เป็นต้น เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นวิธีช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นที่มีความสำคัญวิธีหนึ่ง ซึ่งช่วยให้เด็กเรียนรู้การควบคุมตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (ชาญวิทย์พรนภดล, 2556) ปัญหาเกี่ยวกับสมาธิของตัวผู้เรียนที่มักจะหลุดลอย ล่องลอยออกจากครู และบทเรียน พูดคุยกับเพื่อน และกระทำสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรียน เป็นปัญหาในการสอนสำหรับครูเป็นอย่างมาก
สมาธิบำบัด SKT คือการทำสมาธิที่เกิดจากการผสานศาสนศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาร่างกายให้สามารถเยียวยาตัวเองได้โดยมีหลักการสำคัญคือ ปรับการทำงานของร่างกายทั้งระบบให้อยู่ในภาวะปกติ โดยนำองค์ความรู้ทั้งเรื่องสมาธิ โยคะ ชี่กง การออกกำลังกายแบบยืดเหยียด การปฏิบัติสมาธิด้วยเทคนิคการหายใจ และการควบคุมประสาทสัมผัสทางตาและหู ผสมผสานกัน จนพัฒนาเป็นรูปแบบสมาธิบำบัดแบบใหม่ขึ้น 8 เทคนิค หรือเรียกว่า SKT 1-8 ศาสตราจารย์ ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี ใช้เวลาวิจัยและทดลองเยียวยาผู้ป่วยมานานกว่า 20 ปี จนได้ผลสรุปออกมาเป็นเทคนิค 8 เทคนิค ทำให้ผู้ฝึกมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการเรียน พร้อมๆกับการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาโรคได้หลากหลาย เป็นการดูแลและเยียวยาตนเองโดยไม่ใช้งบประมาณ และสามารถทำได้ทุกที่ เวลา เพศ วัย ศาสนา ทดสอบแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเคี่ยม เล็งเห็นความสำคัญของ การสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียนของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ ให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะ มีแกนนำและมีกิจกรรมการออกกำลังกายประสานจิต SKT ในโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน ทำให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีสมาธิในการเรียนหนังสือเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.นักเรียนมีความรู้การออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน 1.นักเรียนมีความรู้การออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 |
||
2 | 2.นักเรียนมีทักษะการออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน 2.นักเรียนมีทักษะการออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 |
||
3 | 3.โรงเรียนมีแกนนำการออกกำลังกายบริหารจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน 3.โรงเรียนมีแกนนำการออกกำลังกายบริหารจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1.ขั้นเตรียมการ(2 มิ.ย. 2568-30 มิ.ย. 2568) | 14,533.00 | ||||
2 | 2. ขั้นดำเนินการ(2 มิ.ย. 2568-30 มิ.ย. 2568) | 7,140.00 | ||||
รวม | 21,673.00 |
1 1.ขั้นเตรียมการ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 59 | 14,533.00 | 0 | 0.00 | |
2 - 30 มิ.ย. 68 | 1.1 จัดทำรายละเอียดโครงการ 1.2 ติดต่อเชิญวิทยากร 1.3 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.4 แจ้งประชาสัมพันธ์โครงการ 1.5 จัดทำเอกสารประกอบการประชุมอบรม | 59 | 14,533.00 | - | ||
2 2. ขั้นดำเนินการ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 59 | 7,140.00 | 0 | 0.00 | |
2 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | 2.1 ให้ความรู้การออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน 2.2 ฝึกทักษะการออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน 2.3 สร้างแกนนำการออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสมาธิในการเรียน 2.4 ถอดบทเร | 59 | 7,140.00 | - | ||
นักเรียนมีความตระหนักในการออกกำลังกายประสานจิต SKT เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและมีสมาธิในการเรียน ตลอดจนสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และมีกิจกรรมในโรงเรียนเป็นประจำ ส่งผลให้นักเรียนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 13:55 น.