โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68 - L8287 - 5 - 1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.เทพา |
วันที่อนุมัติ | 19 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 60,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายณัฐพงค์ ยะนายเดิม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.82,100.94place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 60,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 60,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 10425 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 มาตรา 67 (3) ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลเทพาในปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 35 ราย อัตราป่วย 285.60 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก 0 - 14 ปี พบป่วยในช่วงเปิดเทอมตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายน ซึ่งโรคไข้เลือด- ออกยังเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินในการรักษาพยาบาล ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้ คนในชุมชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาของโรคเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรค –ไข้เลือดออกขึ้น โดยดำเนินงานร่วมกับศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัวศูนย์ 1 และศูนย์ 2 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลเทพาต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายน้อยลงจากเดิม ร้อยละ 70 |
70.00 | |
2 | เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม แกนนำมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80 |
80.00 | |
3 | เพื่อให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทุกหมู่บ้าน ร้อยละ 70 |
70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 492 | 60,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 30 มิ.ย. 68 | ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดและกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวางแผนการดำเนินงาน รวมทั้งเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ | 30 | 0.00 | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศพด. โรงเรียน วัด มัสยิด อสม. หมู่บ้าน และ PCU ร่วมกันวางแผนดำเนินการ | 30 | 0.00 | - | ||
1 - 31 ก.ค. 68 | จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้อง – กันโรคไข้เลือดออกรวมทั้งขอความร่วมมือให้ประชาชน ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย | 22 | 9,900.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย / Big Cleaning บ้านเรือน วัด มัสยิด สถานที่ราชการ แต่ละหมู่บ้าน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำสุขภาพ อสม. ผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชน | 100 | 2,000.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | จัดซื้อสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย ยาพ่นหมอกควันสำหรับกำจัดยุง และสเปรย์กำจัดยุง | 100 | 48,100.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ประสานงานร่วมกับผู้นำหมู่บ้านและอสม.เพื่อดำเนินการหยอดสารกำจัดลูกน้ำยุงลาย | 100 | 0.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยการทใช้สารไล่ยุงหรือโลชั่นกันยุง และฉีดพ่นยาฉีดยุงโดยเครื่องพ่นหมอกควันหรือฉีดพ่นยาแบบสเปรย์ กรณีเกิดโรคไข้เลือดออกแต่ละราย | 100 | 0.00 | - | ||
1 - 30 ก.ย. 68 | ประเมินผลโครงการ สรุปและรายงานผล | 10 | 0.00 | - |
- สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่
- ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
- ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2568 15:55 น.