โครงการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าและสุขภาพจิตในชุมชน
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าและสุขภาพจิตในชุมชน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธาณสุขตำบลตาชี |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 8,726.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวเอกศรา มณีนิยม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.563,101.115place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ผู้สูงอายุเกิดภาวะโรคซึมเศร้าและสุขภาพจิต | 35.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันตำบลตาชีเป็นตำบลที่มีคนวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก และผู้สูงวัยส่วนใหญ่อยู่ในวัยพึงพิงดังนั้นตำบลตาชี จึงเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยลูกหลานวัยทำงานต้องออกไปทำงานปล่อยให้ผู้สูงวัยต้องอยู่บ้านเพียงลำพังทำให้เกิดความรู้สึกเงียบเหงา ไม่มีคนคุยหรือดูแล จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า ทำงานไม่ไหว ไม่มีใครสนใจดูแล คิดว่าตนเองเป็นภาระลูกหลานทำอะไรไม่ได้ไม่มีความสุข สุขภาพกายแย่สุขภาพจิตยิ่งแย่กว่า หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ไม่อยากมีชีวิตหรือถึงขั้นฆ่าตัวตาย ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตาชีจึงให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากด้วยการจัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าและสุขภาพจิตในชุมชน เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจและรับสภาพตนเองในการดำรงชีวิตให้อยู่ได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. ต้องการให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์ให้มากขึ้น ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ของผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น |
35.00 | |
2 | 2. ผู้สูงอายุต้องทำใจยอมรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าไม่ด้อยค่าตนเอง ไม่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตาย |
35.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุในตำบลตาชีมีความรู้ความเข้าใจในการดำรงชีวิตและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งด้านร่างกาย จิตใจหรืออารมณ์ การทำกิจกรรมร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกกลุ่มวัย ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดียวและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าอยากอยู่กับลูกหลานไปนาน ๆ อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และลดช่องว่างระหว่างผู้ดูแลกับผู้สูงอายุ ลดความเครียดสร้างความรักความเข้าใจซึ่งกันและกันอยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น จำนวนผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาสุขภาพจิตในตำบลตาชีลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2568 13:36 น.