กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบ้านท่าเตียน
รหัสโครงการ 61-L3337-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานบ้านท่าเตียน
วันที่อนุมัติ 20 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 9,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทรงศรี แก้วลอย
พี่เลี้ยงโครงการ กำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดอกนับเป็นปัญหาสาธารณะสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอปากพะยูน พบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557-2559 อัตราป่วย 127.76,121.11 และ 189.10 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ แลอายุที่เป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 15-24 ปี รองลงมาอายุ 10-14 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน คลินิกเวชปฎิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์พบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557-2559 อัตราป่วย 144.30,236.74 และ 47.46 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และอายุทีเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุดคือ อายุ 10-14 ปี รองลงมาช่วงอายุ 15-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน ปัจจุบันคลินิคเวชปฎิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ และอาสาสมัครสาธารณสุขของคลินิคเวชปฎิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกมาเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัยหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกดดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังน้้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป้นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1.1ค่า HI

7.00
2 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ มัพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกถูกต้อง

2.1ประชากรมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกถูกต้องร้อยละ 80 2.2ประชาชนมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกถูกต้องร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 2,000.00 0 0.00
1.ค่าตอบแทนทีม SRRT (อสม.) ที่ออกพ่นหมอกควัน 0 2,000.00 -

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประชุมทีมงาน และ อสม. เพื่อมอบหมายหน้าที่ วางแผนการคัดกรอง 3.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองภาวะสุขภาพ ให้ความรู้ในการดูแลตนเองหลังจากทราบผลการคัดกรอง 4.เตรียมกลุ่เป้าหมาย จัดทำข้อมูลพื้นฐาน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ 5.ดำเนินการคัดกรองภาวะสุขภาพ ให้ความรู้ในการดูแลตนเองหลังจากทราบผลการคัดกรอง 6.จำแนกกลุ่มภาวะสุขภาพ เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยเป็นโรค กลุ่มป่วย 7.ส่งต่อกลุ่มที่คัดกรองแล้วพบความผิดปกติให้ำด้รับการดูแลที่เหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ค่า HI< 15 2.ค่า BI< 15 3.ค่า CI< 10 4.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 80/แสนประชากร 5.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก 6.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 7.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2561 11:33 น.