กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เด็กตาดีกานูรูลวะห์ดะห์ห่างไกลยาเสพติด ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68-L3011-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนตาดีกานูรูลวะห์ดะห์
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหายาเสพติด นับว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสังคมที่รุนแรงที่สุดในแต่ละประเทศทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการ รวมถึงนโยบาย ต่าง ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลรายงาน World Drug Report 2022 ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC : United Nations Office on Drugs and Crime) พบว่าในปี 2563 มีจำนวนประชากรกว่า 284 ล้านคนจากทั่วโลก ในช่วงอายุ 15-64 ปี ที่ติดยาเสพติด ซึ่งคิดเป็น 26% เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสิบปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ติดยาเสพติดมีแนวโน้มที่จะมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ เด็กและเยาวชนมีการใช้ยาเสพติดมากกว่าผู้ใหญ่รวมถึงใช้ในปริมาณที่มากกว่าเช่นเดียวกัน รูปแบบการค้ายาเสพติดมีความยืดหยุ่นและหลากหลายขึ้นกว่าแต่ก่อน อาทิ การใช้เส้นทางเดินเรือเพื่อลำเลียงยาเสพติด การขนส่งสินค้าด้วยไปรษณีย์ รวมถึงการติดต่อซื้อขายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่มากขึ้น จากแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) พบว่า ยาเสพติดที่แพร่หลายมากที่สุดยังคงเป็นยาบ้า ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 79.2 ตามมาด้วยยาไอซ์(ร้อยละ 8.3) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการที่ราคาของยาเสพติดชนิดดังกล่าวลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้เสพเข้าถึงการซื้อได้ง่ายมากขึ้นเมื่อนับรวมจำนวนยาบ้าและยาไอซ์ที่ถูกจับกุมแล้ว นับว่ามีปริมาณมากที่สุดในบรรดาประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นสถิติที่น่ากลัวและเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในการร่วมมือกันปราบปรามปัญหายาเสพติด นอกจากนี้ ยังพบว่าการใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มก่อให้เกิดภาวะ “สมองติดยา” หรือ ภาวะผิดปกติ ทางสมองที่ส่งผลให้สมองส่วนอยาก มีอำนาจเหนือสมองส่วนคิด กล่าวคือ เมื่อสมองออกฤทธิ์ให้ผู้เสพรู้สึกมีความสุขจากการใช้ยาเสพติด จนเกิดความเคยชิน ที่ทำให้ผู้เสพรู้สึกว่าร่างกายต้องพึ่งยา เมื่อไหร่ที่ต้องการยา ก็จะหมกหมุ่นกับการหายามาเสพ ยิ่งสมองส่วนอยากถูกกระตุ้นมากขึ้นเท่าไหร่ สมองส่วนคิดจะทำงานแย่ลง ขาดการไตร่ตรอง ยับยั้งชั่งใจจนนำไปสู่พฤติกรรมความรุนแรงที่ตามมานั่นเองเมื่อสมองที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายมีการทำงานผิดปกติ ร่างกายก็จะเกิดอาการผิดปกติตามไปด้วย การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเสียหาย ทำลายระบบเลือด ทำลายปอดและสมรรถภาพของผู้เสพ ถึงชีวิต ในส่วนของจังหวัดปัตตานีได้ดำเนินงานตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้มีแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยให้ภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ประสานการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ภายในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๗โดยการบูรณาการความร่วมมือของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทุกภาคส่วน ปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การสร้างกลไกการบริหารจัดการ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน โดยใช้กระบวนการ๑๐ ขั้นตอนเพื่อการจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติดให้บรรลุผลสำเร็จถึงขั้นที่ ๖ ซึ่งจังหวัดปัตตานีมีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๐ หมู่บ้านคงเหลือหมู่บ้านหลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัญหายาเสพติด นับว่าเป็นหนึ่งในปัญหาสังคมที่รุนแรงที่สุดในแต่ละประเทศทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการ รวมถึงนโยบาย ต่าง ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลรายงาน World Drug Report 2022 ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC : United Nations Office on Drugs and Crime) พบว่าในปี 2563 มีจำนวนประชากรกว่า 284 ล้านคนจากทั่วโลก ในช่วงอายุ 15-64 ปี ที่ติดยาเสพติด ซึ่งคิดเป็น 26% เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสิบปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ติดยาเสพติดมีแนวโน้มที่จะมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ เด็กและเยาวชนมีการใช้ยาเสพติดมากกว่าผู้ใหญ่รวมถึงใช้ในปริมาณที่มากกว่าเช่นเดียวกัน รูปแบบการค้ายาเสพติดมีความยืดหยุ่นและหลากหลายขึ้นกว่าแต่ก่อน อาทิ การใช้เส้นทางเดินเรือเพื่อลำเลียงยาเสพติด การขนส่งสินค้าด้วยไปรษณีย์ รวมถึงการติดต่อซื้อขายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่มากขึ้น จากแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565 โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) พบว่า ยาเสพติดที่แพร่หลายมากที่สุดยังคงเป็นยาบ้า ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 79.2 ตามมาด้วยยาไอซ์(ร้อยละ 8.3) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการที่ราคาของยาเสพติดชนิดดังกล่าวลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้เสพเข้าถึงการซื้อได้ง่ายมากขึ้นเมื่อนับรวมจำนวนยาบ้าและยาไอซ์ที่ถูกจับกุมแล้ว นับว่ามีปริมาณมากที่สุดในบรรดาประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นสถิติที่น่ากลัวและเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในการร่วมมือกันปราบปรามปัญหายาเสพติด นอกจากนี้ ยังพบว่าการใช้ยาเสพติดอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มก่อให้เกิดภาวะ “สมองติดยา” หรือ ภาวะผิดปกติ ทางสมองที่ส่งผลให้สมองส่วนอยาก มีอำนาจเหนือสมองส่วนคิด กล่าวคือ เมื่อสมองออกฤทธิ์ให้ผู้เสพรู้สึกมีความสุขจากการใช้ยาเสพติด จนเกิดความเคยชิน ที่ทำให้ผู้เสพรู้สึกว่าร่างกายต้องพึ่งยา เมื่อไหร่ที่ต้องการยา ก็จะหมกหมุ่นกับการหายามาเสพ ยิ่งสมองส่วนอยากถูกกระตุ้นมากขึ้นเท่าไหร่ สมองส่วนคิดจะทำงานแย่ลง ขาดการไตร่ตรอง ยับยั้งชั่งใจจนนำไปสู่พฤติกรรมความรุนแรงที่ตามมานั่นเองเมื่อสมองที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายมีการทำงานผิดปกติ ร่างกายก็จะเกิดอาการผิดปกติตามไปด้วย การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเสียหาย ทำลายระบบเลือด ทำลายปอดและสมรรถภาพของผู้เสพ ถึงชีวิต ในส่วนของจังหวัดปัตตานีได้ดำเนินงานตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้มีแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยให้ภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ประสานการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ภายในปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๗โดยการบูรณาการความร่วมมือของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทุกภาคส่วน ปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การสร้างกลไกการบริหารจัดการ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน โดยใช้กระบวนการ๑๐ ขั้นตอนเพื่อการจัดตั้งกองทุนแก้ไขปัญหายาเสพติดให้บรรลุผลสำเร็จถึงขั้นที่ ๖ ซึ่งจังหวัดปัตตานีมีหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๐ หมู่บ้านคงเหลือหมู่บ้านที่ยังไม่เป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน ๓๑๙ หมู่บ้าน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปัตตานีได้ดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ครบทุกหมู่บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้วด้านนายไชยพร นิยมแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวเสริมต่ออีกว่า การบูรณาการ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในด้านการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทำให้ผู้เสพ/ผู้ติด ลดจำนวนลง และส่งเสริมให้เกิดศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมเพิ่มขึ้น ผู้นำในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินและชุดปฏิบัติการในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนจังหวัดปัตตานี จะมีความเข้าใจ และจะสามารถพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการบูรณาการความร่วมมือของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทุกภาคีเครือข่ายได้อย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นมิติหนึ่งของการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ปัญหายาเสพติดได้ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ ที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ายาเสพติด ทั้งในรูปแบบของการใช้ การซื้อขาย และการชักชวนให้เข้าสู่วงจรของยาเสพติด โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีบริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง อีกทั้งยังอยู่ในพื้นที่ชายแดนที่อาจมีช่องทางในการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดได้ง่าย จะเห็นได้ว่ายาเสพติดได้ขยายตัวลุกลามเข้าไปทุกแห่งหนกระทั้งในรั้วโรงเรียนก็มีเพิ่มมากขึ้นทุกที เนื่องจากอยู่ในช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลจากเพื่อนหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่าย การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ถูกต้อง รวมถึงทักษะในการปฏิเสธและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ด้วยวัยที่มีความคึกคะนอง อยากลอง อยากประชดโดยเฉพาะผู้ที่เริ่มมีความทุกข์ทางใจ เหงาว้าเหว่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ในโลกใบนี้สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและเป็นภัยร้ายกับสังคม เรายังหนีไม่พ้นกับเรื่องของยาเสพติด เป็นที่น่าหวั่นเกรงว่า หากไม่ดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน อาจสายเกินไปสำหรับเด็กเยาวชนและกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ในปี 2566 ทุกภาคส่วนในตำบลตะลุโบะดำเนินโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่ที่ 1บ้านแบรอ โดยมีผู้เข้ารับการบำบัดจำนวน 30 คน และมีการติดตามผลหลังการบำบัดในกลุ่มเครือข่ายจำนวน 20 คน โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอบรมให้ความรู้แก่เยาวชนกลุ่มเสี่ยง การอบรมเครือข่าย อสม. และการประชุมติดตามผู้ผ่านการบำบัด นอกจากนี้ จังหวัดปัตตานีได้ดำเนินโครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (CBTx) อย่างเป็นรูปธรรม ครอบคลุมทุกตำบลเป้าหมายในอำเภอเมืองปัตตานี รวมถึงตำบลตะลุโบะด้วย ทางโรงเรียนตาดีกานูรูลวะห์ดะห์ มีนักเรียนตาดีกาจำนวน 100 คน อายุตั้งแต่ 6 – 12 ปี แบ่งเป็นเพศชายจำนวน30 คน และเพศหญิงจำนวน 70 คน ในพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลตะลุโบะ ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดดังนั้น ทางโรงเรียนตาดีกานูรูลวะห์ดะห์เล็งเห็นถึงความสำคัญของป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กตาดีกา จึงได้จัดทำโครงการเด็กตาดีกานูรูลวะห์ดะห์ห่างไกลยาเสพติด ประจำปี 2568 เพื่อให้เด็กได้มีทักษะการประเมินพื้นที่เสี่ยง การปฏิเสธยาเสพติดและการเข้าใจถึงอันตรายของยาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ครูและเด็กได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด

ร้อยละ 80 ของครูและเด็กความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด

0.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการประเมินพื้นที่เสี่ยง

เด็ก  ร้อยละ 80 มีทักษะความรู้ในการประเมินพื้นที่เสี่ยง

0.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการปฏิเสธยาเสพติด

เด็ก  ร้อยละ 80 มีทักษะความรู้ในการปฏิเสธยาเสพติด

0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 .กิจกรรม ประชุมคณะทำงาน 0 350.00 -
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สร้างความเข้าใจเรื่องอันตรายจากยาเสพติด 0 13,000.00 -
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมสำรวจและรณรงค์ห่างไกลยาเสพติด 0 6,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูและเด็กได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติด
  2. ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการประเมินพื้นที่เสี่ยง
  3. ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการปฏิเสธยาเสพติด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2568 11:08 น.