กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนรวมใจห่างไกลไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-8287-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.เทพา
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 67,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟีหะยีเดผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ก.ค. 2560 30 ก.ย. 2560 30,550.00
รวมงบประมาณ 30,550.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (30,550.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (67,200.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อำเภอเทพา มีการระบาดของไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557-2559 มีผู้ป่วย 25 , 18 และ 62 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 211.13 , 152.01 และ 523.6 ต่อแประชากรแสนคน ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของโรคส่วนมากพบในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่ 1 พอดี และชีวนิสัยของยุงชอบหากินเวลากลางวัน สันนิษฐานได้ว่า การแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์เด็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งชุมชน โรงเรียน อบต. รพสต. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สของทีอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องรวมทั้งการควบคุมโรค เน้นประสิทธิภาพในการควบคุมโรคของทีม srrt และเครือข่าย ป้องกันไม่ให้การระบาดเกิน 2 GEN โดยใช้กลไก มาตรฐานการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (EOC-ICS) - War room จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการชุมชนรวมใจห่างไกลไข้เลือดออก ตำบลเทพา ปี 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ก่อนการระบาดของโรค - จัดเตรียมป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ แผ่นพับการควบคุมโรค อุปกรณ์สำหรับควบคุมโรค - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย ป้ายประชาสัมพันธ์ และทางสื่อบุคคล -กระตุ้นให้ปชช.และโรงเรียนควบคุมโรค - กำจัดทางเคมี - ลงพื้นที่สำรวจยุงลานเดือนละ 1 ครั้ง - สำรวจยุงลายในชุมชนแบบไขว้ เดือนละ 3 ครั้ง โดยอสม. ระยะระบาด ใช้มาตรการ 3-3-1-5-15 อย่างเข้มข้น - ประสานรพ.รายงานผู้ป่วยเร่งด่วน- พ่นหมอกควันภายใน 24ชม. กำหนดพื้นที่ระบาดโรคในระย 100 เมตร -ให้อสม.สำรวจลูกน้ำทุกวันศุกร์ - ใช้กลไกมาตรการโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน
กิจกรรมอสม.น้อย สารวัตรปราบลูกน้ำ
- ประสานรร. นำนักเรียนเข้ารับอบรมพร้อมนำไปใช้ประโยชน์ในรร. กิจกรรมประกวดหมู่บ้านและโรงเรียนปลอดลูกน้ำ
- อสม.จับคู่สำรวจบ้านและโรงเรียนปลอดลูกน้ำ - จนท.สำรวจรร.ปลอดลูกน้ำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปชช. อสม.. แกนนำชุมชน ตระหนักและให้ความสำคัญโรคไข้เลือดออก
  2. เกิดความร่วมมือในภาครัฐในการดำเนินงานป้องกันไข้เลือดออก
  3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  4. ลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2560 16:12 น.