โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รู้จักดูแลตนเอง ชะลอภาวะแทรกซ้อน ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รู้จักดูแลตนเอง ชะลอภาวะแทรกซ้อน ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L3306-02-048 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านโล๊ะจังกระ |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 24,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจำลอง อินนุรักษ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุขัยของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า ๖๐ ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ ๓00,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคิดเป็นร้อยละ ๗๓ ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ ๖๓ ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
เครือข่ายสุขภาพกงหรา พบยอดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปี ๒๕๖4 – ๒๕๖7 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด ๑,๖๕๒, ๑,๘๐๗, 1,909 และ 2,141 คน ตามลำดับ ปี ๒๕๖4 – ๒๕๖7 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน ๑๑๘, ๑๕๕, 182 และ 232 คน ตามลำดับ ปี ๒๕๖4 – ๒๕๖7 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๓,๐๔๐, ๓,๒๘๘, 3,532 และ 4,005 คน ตามลำดับ ปี ๒๕๖4 – ๒๕๖7 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน ๑๙๑, ๒๕๔, 356 และ 473 คน ตามลำดับ และพบผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น ในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิตไม่ได้ หรือขาดยาไม่มารับการรักษาตามนัดการได้รับการประเมินภาวะแทรกซ้อนต่างๆในเบื้องต้น จึงมีความสำคัญมาก ปัจจุบันแม้อัตราการเจาะเลือดประจำปีของผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจครอบคลุมมากขึ้น แต่การเข้าถึงการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา เท้า และหลอดเลือดหัวใจ สมอง ยังไม่ครอบคลุมเท่าที่ควร โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนทางตาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากขาดเครื่องมือในการตรวจจอประสาทตา เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจตาตามระยะเวลาปีละ ๑ ครั้งเบาหวานเข้าจอประสาทตา เป็นภาวะแทรกซ้อนทางตาที่สำคัญของโรคเบาหวาน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดตามัวไปจนถึงตาบอดการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอทั้งในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูงจะช่วยรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ดังนั้น กลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลกงหราได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รู้จักดูแลตนเอง ชะลอภาวะแทรกซ้อน อำเภอกงหรา ปี ๒๕๖7ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยให้เกิดความฉลาดรู้จนสามารถดูแลตนเองได้พัฒนาระบบการดูแล เพื่อให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปสู่การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ตามเกณฑ์ ครอบคลุมทุกพื้นที่ค้นหาผู้ป่วยที่เกิด
ภาวะแทรกซ้อนรายใหม่ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และส่งต่อทันท่วงทีส่งเสริมการดูแลตนเองและญาติของผู้ป่วย แบบองค์รวม โดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และความยั่งยืนต่อไปในชุมชนอีกทั้งพัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ติดตามผู้ป่วยที่ควบคุมโรคไม่ได้ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อการเข้าถึงของซึ่งจะนำไปสู่การลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง4.4 ทั้งนี้เด็กที่เรียนหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดจะมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำมีทักษะ การเอาชีวิตรอดในน้ำ และมีทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนถึง 7.4 เท่า 20.7 เท่า และ 2.7 เท่า ตามลำดับ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่อง โรค การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน จนสามารถนำความรู้มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้ . ร้อยละ 80 ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่อง โรค การป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน จนสามารถนำความรู้มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้ |
||
2 | 2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตามเกณฑ์มาตรฐาน และสามารถดูแลตนเองในการชะลอภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | เม.ย. 68 | พ.ค. 68 | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมที่ 1 รู้ทัน เตือนภัย ชะลอไตเสื่อม โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการชะลอไตเสื่อมและสาธิตการปรุงเมนูอาหารเพื่อชะลอไตเสื่อมแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิก NCD(1 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) | 4,200.00 | ||||||
2 | กิจกรรม 2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ( BP≥ 140/90 mmHg)พร้อมทำ SMBP(1 เม.ย. 2568-30 ก.ย. 2568) | 20,000.00 | ||||||
รวม | 24,200.00 |
1 กิจกรรมที่ 1 รู้ทัน เตือนภัย ชะลอไตเสื่อม โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการชะลอไตเสื่อมและสาธิตการปรุงเมนูอาหารเพื่อชะลอไตเสื่อมแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิก NCD | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 4,200.00 | 0 | 0.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | รู้ทัน เตือนภัย ชะลอไตเสื่อม โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการชะลอไตเสื่อมและสาธิตการปรุงเมนูอาหารเพื่อชะลอไตเสื่อมแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิก NCD | 0 | 4,200.00 | - | ||
2 กิจกรรม 2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ( BP≥ 140/90 mmHg)พร้อมทำ SMBP | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ( BP≥ 140/90 mmHg)พร้อมทำ SMBP | 0 | 20,000.00 | - | ||
- รูปแบบกิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ รู้ทัน เตือนภัย ชะลอไตเสื่อม โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการชะลอไตเสื่อมและสาธิตการปรุงเมนูอาหารเพื่อชะลอไตเสื่อมแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิก NCD โรงพยาบาลกงหรา ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต เดือนละ กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ( BP≥ 140/90 mmHg)พร้อมทำ SMBP โดยหมอคนที่หนึ่ง ร่วมกับหมอคนที่สอง เพื่อติดตามและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้สามารถควบคุมความดันโลหิตได้เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
- ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนที่ รุนแรง
- ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตระหนักในการดูแลตนเองและได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง
- เหมาะสม และชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 11:03 น.