โครงการป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
รหัสโครงการ | 68-l3007-05-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อบต.สะกำ |
วันที่อนุมัติ | 30 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 30 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 15,524.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวซารีป๊ะ มะเก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.72,101.462place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 30 มิ.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 15,524.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,524.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 103 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็ก โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากการกินอาหารโดยไม่ล้างมือ การดื่มน้ำ ดูดเลียนิ้วมือ ซึ่งโรคนี้จะมีอาการโดยทั่วไป จะมีไข้ เจ็บคอ มีตุ่มพองใสขนาด 1 – 2 มม. บนฐานซึ่งมีสีแดงกระจายอยู่บริเวณคอหอย และตุ่มพองใสจะขยายกลายเป็นแผลคล้ายแผลร้อนใน โดยส่วนมากพบที่บริเวณด้านหน้าของต่อมทอนซิล เพดานปาก ลิ้นไก่ และต่อมทอนซิล มักเป็นอยู่นาน 4 – 6 วัน หลังเริ่มมีอาการ และอาจมีอาการชักจากไข้สูงร่วมได้ร้อยละ 5 ซึ่งเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมักจะอยู่รวมกันในอาคารเป็นส่วนใหญ่ มีการทำกิจกรรมและการเล่นของเล่นร่วมกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่าย ช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดชขึ้นในผู้ป่วยที่หายจาการตืดเชื้อไวรัสสายพันธ์ุหนึ่งๆ อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆได้ จากสถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 29 มีนาคม 2568 มีรายงานผู้ป่วยสะสม 10,836 ราย อัตราป่วยคิดเป็นร้อยละ 32.53 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และระหว่างวันที่ 23 – 29 มีนาคม 2568 พบผู้ป่วยรายใหม่ 695 ราย เฉลี่ย 100 รายต่อวัน พบผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 67 ราย และผู้ป่วยรักษานอกโรงพยาบาล 628 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ในสถานการ์ณปัจจุบันพบว่าตำบลสะกำ ได้มีการระบาดของโรคมือ เท้า ปากในพื้นที่ตำบลสะกำ จากรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ ในเดือนมิถุนายน 2568 มีผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งพบว่าผู้ป่วยเป็นเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดสะกำ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลสะกำ ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยเด็ก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก และเพื่อให้ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ส่งผลให้ผู้เรียนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคมือ เท้า ปาก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราการป่วยและการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก มีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีแก่ผู้ปกครอง จำนวน 113 คน |
||
2 | 2.เพื่อให้ผู้ปกครองได้รู้จักการล้างมือที่ถูกวิธี 2.มีการฝึกปฏิบัติการล้างมือที่ถูกวิธี จำนวน 113 คน |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | มิ.ย. 68 | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | การส่งเสริมสุขภาพอนามัย(14 ก.ค. 2568-18 ก.ค. 2568) | 15,524.00 | ||||
รวม | 15,524.00 |
1 การส่งเสริมสุขภาพอนามัย | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 226 | 15,524.00 | 0 | 0.00 | |
2 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ | 113 | 5,090.00 | - | ||
3 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การสาธิตการล้างมือที่ถูกต้อง | 113 | 774.00 | - | ||
3 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ | 0 | 6,500.00 | - | ||
3 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | การตวบคุมเชื้อโรคมือ เท้า ปาก | 0 | 3,160.00 | - | ||
กิจกรรมที่ 1
1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการฝึกอบรม
3.ดำเนินจัดการฝึกอบรมตามโครงการ
4.สรุปผลการดำเนินโครงการ
กิจกรรม
1.กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพเพื่อควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.การฝึกปฏิบัติการล้างมือที่ถูกวิธี
3.การติดตามและประเมิน เพื่อติดตามและประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก
กิจกรรมที่3
1.ติดป้ายประสัมพันธืให้ความรู้โรคมือเท้า ปากภายในตำบลสะกำ
กิจกรรมที่ 3ศูนย์ฯ
1. ดำเนิกล้างอุปกรณ์เครื่องใช้หรือของเล่น ห้องน้ำ ห้องเรียน และห้องครัวภายในศูนย์ฯ
2. ฉีดฆ่าเชื้อ ลดการระบาดของโรคมือเท้าปากตามโรคมือเท้าปากในศูนย์ฯ
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหารอย่างต่อเนื่อง 2.ทำให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่เกิดการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2568 14:24 น.