โครงการค่ายเสริมสร้างทักษะชีวิต และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
ชื่อโครงการ | โครงการค่ายเสริมสร้างทักษะชีวิต และพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด |
รหัสโครงการ | 68-L1467-02-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม TO BE NUMBER ONE ชุมชนบ่อน้ำร้อน |
วันที่อนุมัติ | 30 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 19 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 54,832.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจิรประภา กิตติคุณ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.425,99.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 120 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหายาเสพติดเป็นภัยร้ายที่กัดกร่อนสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงแต่ทำลายชีวิตของผู้เสพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติโดยรวม จากการสำรวจพฤติกรรมที่เกิดจากการเสพสารเสพติดในคนไทย พบว่ายาบ้ายังคงเป็นยาเสพติดหลัก ที่แพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีปริมาณการจับกุมและผู้เข้ารับการบำบัดรักษาสูงที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวของกลุ่มผู้เสพในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ในการซื้อขายและแพร่กระจายยาเสพติด ทำให้การควบคุมและปราบปรามยากขึ้น จากการดำเนินศูนย์คัดกรองยาเสพติด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อน้ำร้อน และจากคลินิกโลกใบใหม่ โรงพยาบาลกันตังพบว่า มีผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 9 ราย และในปีงบประมาณ 2568 (1 ตุลาคม 2567 - 30 เมษายน 2568) จำนวน 10 ราย
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและเรื้อรัง การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม หากทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเองและร่วมมือกันอย่างจริงจัง เราก็สามารถสร้างสังคมไทยที่ปลอดจากยาเสพติดและมีอนาคตที่สดใสได้ ดังนั้น การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน โดยการสร้างภูมิคุ้มกันและให้ความรู้ที่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นอย่างมากในการป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน
ดังนั้นชมรม TO BE NUMBER ONE ตำบลบ่อน้ำร้อน มีความตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดการศึกษาให้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข และเป็นหนึ่งโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด จึงได้น้อมนำโครงการ TO BE NUMBER ONE ในทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตนราชกัญญาสิริโสภาพรรณวดีมาดำเนินงาน โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงโทษ และรับทราบถึงปัญหาของยาเสพติด รวมทั้งคาดหวังให้เด็กมีคุณลักษณะกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และมีคุณธรรมจริยธรรม และพัฒนาตนเองในการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงตนในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข พร้อมเป็นบุคคลต้นแบบในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ พร้อมขยายเครือข่ายสู่ชุมชน ส่งผลให้เยาวชนในสังคมห่างไกลยาเสพติด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงโทษ และรับรู้ถึงปัญหาของยาเสพติด กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และ มีสมาชิกเครือข่ายในชมรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 |
1.จัดทำรายละเอียดโครงการขอสนับสนุนงบประมาณ 2.จัดค่ายเสริมสร้างทักษะชีวิต และพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด 2.1 แต่งตั้งคณะทำงานและหน้าที่รับผิดชอบ 2.2 จัดประชุมคณะทำงาน เตรียมการ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงาน 2.3 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2.4 จัดเตรียมความพร้อมในการเข้าค่ายฝึกอบรม เช่น วิทยากร สถานที่ กำหนดการอบรม และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม 2.5 ดำเนินการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ พร้อมทั้งมีการประเมินแบบทดสอบก่อนและหลังการให้ความรู้ตามโครงการ 2.6 ประเมินผลการจัดกิจกรรม 3.ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับร่วมอบรม 4.ประเมินผลโครงการ 5.สรุปผลและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ
1.กลุ่มเป้าหมายได้ตระหนักถึงโทษ รับรู้ถึงปัญหายาเสพติด และทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีสมาชิกเครือข่ายในชมรมเพิ่มขึ้น 2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดที่ถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2568 10:30 น.