โครงการโรงเรียนปลอดภัยห่างไกลโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการโรงเรียนปลอดภัยห่างไกลโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก |
วันที่อนุมัติ | 26 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 15,070.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอโนชา เลาหวิริยานนท์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 302 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ และต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวนมาก และก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ ป้องกัน ควบคุม และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด แต่ก็ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
พื้นที่ตำบลสะเตงนอกเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ก็มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากข้อมูลที่ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ย้อนหลัง 5 ปี (2563 - 2567) พบว่า ปี 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 8 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 60.89 ต่อประชากรแสนคน ปี 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 1 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 7.61 ต่อประชากรแสนคน ปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 2 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 15.23 ต่อประชากรแสนคน ปี 2566มีจำนวนผู้ป่วย 77 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 586.13 ต่อประชากรแสนคน และในปี 2567 มีจำนวนผู้ป่วย 37 ราย อัตราป่วย คิดเป็น 281.64 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในปี 2567 พบว่า ค่าเฉลี่ยรวม HI เท่ากับ 17.04 ค่าเฉลี่ยรวม CI เท่ากับ 9.02 ซึ่งค่าปกติของดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่ควรเกิน 10 และ CI ต้องมีค่าเป็น 0 จากข้อมูลดังกล่าว คาดการณ์ได้ว่าในปี 2568 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะมีแนวโน้มสูงเกิน 80 ต่อแสนประชากร และส่วนใหญ่การระบาดของโรคไข้เลือดออก จะพบในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค
จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลาได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนและเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดภัยห่างไกลโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราการตายด้วยโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 80 ต่อประชากรแสนคน |
0.00 | |
2 | 2. เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 |
0.00 | |
3 | 3. เพื่อกระตุ้นเตือนให้ตัวแทนนักเรียน เห็นความสำคัญ และตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก ตัวแทนนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15,070.00 | 0 | 0.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา | 0 | 4,825.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนอิสลาฮียะห์ | 0 | 5,595.00 | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มแกนนำนักเรียน (โรงเรียนญัณญาร์วิทย์) | 0 | 4,650.00 | - |
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกกลุ่มอายุลดลง ไม่เกิน 80 ต่อประชากรแสนคน
- ตัวแทนนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2568 17:28 น.