กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กนักเรียนอายุ 6 - 14 ปี
รหัสโครงการ 58-L4139-02-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 5 มิถุนายน 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาฏนภางค์ คล้ายนิมิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจาก ตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญขอของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกช้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสียงต่อคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำหต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง จะมีโอกาสเสียงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมี โอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง พัฒนาการไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ จากรายงานของงาน อนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียได้ พบได้มากสุดถึง ร้อยละ 65 (WHO, 2019: Online) ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2561 - 2563 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นในปี พ.ศ. 2561-2562 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 16.06 และ 16.43 ตามลำดับ (HDC,2563) กระหรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้มีการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งตั้งครรภ์ทุก รายให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก และให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร การดูแลและการส่งเสริมสุขภาพในหญิง ตั้งครรภ์ ทำให้ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งตั้งครรภ์ พ.ศ.2563 ลดลง เป็นร้อยละ 15.15 อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 กำหนดเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจาก การขาดธาตุเหล็กไม่เกินร้อยละ 10 ภาวะโลหิตจางยังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิด ภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการ สังเคราะห์ฮีโมโกบินซึ่งทำหน้าที่จับกับออกชิเจนและส่งให้ทุกเซลในร่างกาย หญิงมีครรภ์ถ้าชาชาดธาตุเหล็กทำให้ กำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีผลผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ โรคโลหิตจางจาก การชาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ซึ่งได้ระบุไว้ในแผนงานอาหารและ โภชนาการแห่งชาติมาตั้งแต่ฉบับแรก กระทรวงสาธาธารณสุข มีความพยายามที่จะดำเนินการควบคุบคุมป้องกันมา ตลอดโดยจัดตั้งระบบเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำนตำบลยุโป ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เห็นความสำคัญของภาวะโลหิตจางในกลุ่มเด็กนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการ แก้ไขปัญหาภาวะขีดในเด็กนักเรียนอายุ 6 - 14 ปี เพื่อเป็นให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะซีด การป้องกัน และผลกระทบ จาภาวะโลหิตจาง รวมถึงการค้นหาและการจ่ายบำรุงโลหิต เพื่อเป็นการลดภาวะเสี่ยงในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด ในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็กนักเรียนหญิงอายุ 6 -14 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซีด

เด็กนักเรียนหญิงอายุ 6 -14 ปี  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซีด และผลกระทบต่อสุขภาพร้อยละ 90

2 เด็กนักเรียนหญิงอายุ 6 -14 ปี ได้รับการตรวจเลือดเพื่อค้นหาภาวะซีด

เด็กนักเรียนหญิงอายุ 6 -14 ปี ได้รับการตรวจเลือดเพื่อค้นหาภาวะซีด ร้อยละ 90

3 เด็กนักเรียนหญิงอายุ 6 -14 ปี ได้รับประทานยาบำรุงโลหิต

เด็กนักเรียนหญิงอายุ 6 -14 ปี ได้รับประทานยาบำรุงโลหิตร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะซีด 2.หญิงวัยเจริญพันธ์ได้รับการเจาะเลือดออกเพื่อคัดกรองภาวะซีด 3.หญิงวัยเจริญพันธ์มีภาวะซีดได้รับการติดตามจ่าย เพื่อป้องกันภาวะซีด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2568 09:35 น.