โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ |
รหัสโครงการ | 68-L4128-2-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน้ำร้อน) |
วันที่อนุมัติ | 8 กรกฎาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 19 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 28,770.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพัชรี เจ๊ะและ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.853,101.099place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 215 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ปัจจุบันข่าวเกี่ยวกับเด็กจมน้ำและปัญหาเด็กติดในรถยนต์ สามารถนำไปเป็นบทเรียน เพื่อหาแนวทางแก้ไขป้องกันปัญหาดังกล่าว ดังนั้นโรงเรียนไทยรัฐวิทยา๙๔ (บ้านบ่อน้ำร้อน)หมู่2 ตำบลตาเนาะแมเราะเป็นพื้นที่ติดกับลำคลองและพื้นที่ลุ่มมีแหล่งน้ำมากมาย ที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน จากการจมน้ำ หากเด็กตระหนักรู้ถึงอันตรายของการเล่นน้ำ และการช่วยเหลือตนเอง หรือช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง นอกจากนี้เด็กๆที่อาศัยในชุมชน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นผู้ที่สามารถช่วยเหลือเด็กที่เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ และนำส่ง โรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงที ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายจากการจมน้ำได้
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา๙๔(บ้านบ่อน้ำร้อน)จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำในโรงเรียนและพื้นที่ใกล้เคียงในเขตพื้นที่บริการขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำในเด็ก
|
||
2 | 2. เพื่อส่งเสริมทักษะการป้องกันอุบัติเหตุทางน้ำให้กับนักเรียนอย่างถูกวิธี
|
||
3 | 3. เพื่อฝึกอบรมการช่วยชีวิตเบื้องต้น (CPR) และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างปลอดภัย
|
||
4 | 4.เพื่อสร้างจิตสำนึกในการระมัดระวังอันตรายจากการเล่นน้ำหรือทำกิจกรรมใกล้แหล่งน้ำ
|
||
5 | 5. เพื่อให้โรงเรียนมีแนวทางในการเฝ้าระวังและวางมาตรการป้องกันเด็กจมน้ำอย่างเป็น
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และสามารถระบุพฤติกรรมเสี่ยงต่อการจมน้ำได้
- นักเรียนมีทักษะเบื้องต้นในการเอาตัวรอดและช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางน้ำ
- โรงเรียนมีแนวทางหรือแผนงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำอย่างชัดเจน
- อัตราการเกิดอุบัติเหตุจมน้ำในกลุ่มเด็กและเยาวชนลดลง
- เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2568 09:36 น.