กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในเขตพื้นที่ตำบลปูยุด ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3017-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 24,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรพงษ์ โตะฮิเล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.807367,101.260881place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 17,700.00
2 1 ก.ค. 2568 30 ก.ย. 2568 6,600.00
รวมงบประมาณ 24,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลปูยุด มีผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง และจากผู้สูงอายุ ในปี ๒๕๖5, ๒๕๖6 และ ๒๕๖7 จำนวน ๒8 คน, และ 26 คน ตามลำดับ ในจำนวน 27 คน และในปี 2568 มีจำนวน 25 คน เป็นผู้ป่วยติดบ้าน จำนวน ๑๗ คน และเป็นผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 8 คน จากการดำเนินงานของทีมเยี่ยมบ้านพบว่าผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงส่วนใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนด้านกล้ามเนื้อและข้อ มีข้อติด ซึ่งช่วยเหลือตัวเองได้น้อยหรือไม่ได้เลย มีอาการท้องผูกจากการที่ลำไส้ไม่เคลื่อนไหวเนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้ขยับร่างกาย มีปัญหาแผลกดทับ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามมา ตำบลปูยุดมีทีมเยี่ยมบ้านที่เป็นผู้ดูแลหลัก ได้แก่ Care Giver อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น และญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเพื่อให้การดำเนินงานดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงควรเพิ่มทักษะและความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาและต่อยอดให้การดูแลผู้ป่วยบรรลุผลยิ่งขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง และผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเพิ่มทักษะด้านการดูแลดังนี้ การบริหารกล้ามเนื้อและข้อ การประคบสมุนไพร การนวดน้ำมัน กระตุ้นสัมผัส การนวดกระตุ้นการขับถ่าย การนวดเพื่อช่วยกลืน การดูแลแผลกดทับ และการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี การทำแผล การให้อาหารทางสายยาง
ในการนี้ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด จึงได้ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลปูยุดจัดทำโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในเขตพื้นที่ตำบลปูยุด ประจำปี ๒๕๖8 ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงให้แก่ผู้ดูแล ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,300.00 0 0.00 24,300.00
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 อบรมกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง 0 17,700.00 - -
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน 0 6,600.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 24,300.00 0 0.00 24,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง 2.ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพและสามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2568 00:00 น.