ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก Smart Mom to Smart Kids
ชื่อโครงการ | ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก Smart Mom to Smart Kids |
รหัสโครงการ | 68–L3057-1-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาเลาะ |
วันที่อนุมัติ | 23 มิถุนายน 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 25,410.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมูฮาหมัดโยฮัน วารัม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.733,101.606place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยการพัฒนาคุณภาพเด็กไทยต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และการคลอด/หลังคลอด อย่างมีประสิทธิภาพ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของมารดาและทารก เพราะหากหญิงตั้งครรภ์เหล่านี้ได้รับการดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว จะสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เช่น ภาวะโลหิตจาง เบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การดูแลครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน และมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งสุขภาวะทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย แก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการแก้ไขปัญหาอย่างมีคุณภาพ ปัจจุบันข้อมูลการดำเนินงานด้านสตรี ดำเนินการแก้ไขเช่นพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ การเยี่ยมหลังคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรและการเติบโตผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต
จากผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็กในปีงบประมาณ 2567 (ไตรมาส1และ2) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านบาเลาะพบว่า 1) อัตราโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (ไม่เกินร้อยละ 14) ร้อยละ 16.67 ตามลำดับ 2) อัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (ไม่เกินร้อยละ 7) ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 6 ราย ร้อยละ 15.38 3) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ จำนวนเป้าหมายทั้งหมด 45 ราย ร้อยละ 77.78 4) อัตราหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (ร้อยละ 75) ร้อยละ จำนวนเป้าหมาย 38 ราย ร้อยละ 82.61 และ พบว่าอัตราวัยรุ่นตั้งครรภ์ ร้อยละ 5.76 และพบว่าสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างเดียวตั้งแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน และหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 30 ปี พบว่ามีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์สูง เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ มีพฤติกรรมการบริโภค น้ำหวาน แป้ง เช่น ชาเย็น โรตี เป็นต้น เป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนานการคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และหญิงตั้งครรภ์บางรายเป็นกลุ่มวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่ เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมา นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือการต้องหยุดทำงาน การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่และบุตรที่เกิดมา ผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ครอบครัวและสังคมไทยในภาพรวม ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงและส่งผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรและการเติบโตผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต จะเห็นได้ว่าการดูแลกลุ่มเป้าหมายทั้งหญิงตั้งครรภ์ยังพบข้อกำกัดหลายด้านเช่น ความไม่ครอบคลุมการติดตามรายบุคคล การเชื่อมโยงในการดูแลร่วมกับเครีอข่าย อสม. การแก้ไขควรเพิ่มศักยภาพหญิงตั้งครรภ์ในการดูแลตัวเองที่ถูกต้องมากขึ้น
ดังนั้นจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาเลาะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ จึงมีแนวคิดในการปรับปรุงการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็ก เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อให้แม่ลูกปลอดภัย เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก Smart Mom to Smart Kids เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการ ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ข้อที่ 1 เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์ ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ |
||
2 | ข้อที่ 2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 80 ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ |
||
3 | ข้อที่ 3 เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอดตามเกณฑ์ ร้อยละ 95 ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ |
||
4 | ข้อที่ 4 เพื่อให้ทารกหลังคลอดมีน้ำหนักเกิน 2,500 กรัม ร้อยละ 95 ทารกแรกคลอดน้ำหนักเกิน 2,500 กรัม |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรม 1 กิจกรรมประชุมชี้แจงโครงการ
กรกฎาคม 2568
1.1 กิจกรรมย่อย
- ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะทำงาน(จนท.จำนวน 10 คน,อสม.จำนวน 37 คน) - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บ. × 47 คน × 1 มื้อ
= 1,645 บ.
รวมเป็นเงิน 1,645 บาท
กิจกรรม 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการอบรมเชิงปฏิบัติการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 37 คนและแกนนำสุขภาพ ด้านอนามัยแม่และ กรกฎาคม2568
ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา
เด็ก จำนวน 7 คน หลักสูตรผู้ช่วยผู้ดูแลด้านอนามัยแม่และเด็กในชุมชน
กรกฎาคม2568
2.1 กิจกรรมย่อย
- อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และแกนนำสุขภาพ ด้านอนามัยแม่และเด็ก หลักสูตรผู้ช่วยผู้ดูแลด้านอนามัยแม่และเด็กในชุมชน - ค่าจ้างทำป้ายโครงการขนาด 1 เมตร x 3 เมตร ในราคาตารางเมตรละ 350 บาท = 1,050 บ.
- ค่าวิทยากรคนละ 600 บ. X 2 คน X 3 ชม. = 3,600 บ.
- ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม 65 บ. × 44 คน ×
1 มื้อ = 2,860 บ.
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บ. × 44 คน × 2 มื้อ
= 3,080 บ. รวมเป็นเงิน 10,590 บาท
กิจกรรม 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์ สามี หรือญาติผู้ดูแล และหญิงหลังคลอด ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด และหลังคลอด จำนวน 55 คน กรกฎาคม2568
3.1 กิจกรรมย่อย
- การส่งเสริมสุขภาพ และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด และการดูแลหลังคลอด - ค่าวิทยากรคนละ 600 บ. X 2 คน X 3 ชม. = 3,600 บ.
- ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม 65 บ. × 55 คน ×
1 มื้อ = 3,575 บ.
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 35 บ. × 55 คน × 2 มื้อ
= 3,850 บ.
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม เป็นเงิน 2,150 บ.
รวมเป็นเงิน 13,175 บาท
กิจกรรม 4 คลินิคโรงเรียนพ่อแม่เพื่อให้คำปรึกษาแก่หญิงมีครรภ์และสามีเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและดูแลบุตร กรกฎาคม2568
4.1 กิจกรรมย่อย
คลินิคโรงเรียนพ่อแม่เพื่อให้คำปรึกษาแก่หญิงมีครรภ์และสามีเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและดูแลบุตร ไม่มีค่าใช้จ่าย
กิจกรรมที่ 5 ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และภาคีเครือข่าย กันยายน2568
กิจกรรมที่ 6 สรุป วิเคราะห์ ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ มิถุนายน 2568
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,410 บาท
(สองหมื่นห้าพันสี่ร้อยสิบบาทถ้วน)
หมายเหตุ : งบประมาณถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ
- หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบรพ.สต.บ้านบาเลาะ ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอด ได้รับการดูแลตามเกณฑ์มาตรฐาน ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
- ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
- หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตนเองและบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง
- เครือข่ายในชุมชนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2568 09:15 น.