กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสู่การมีสุขภาวะที่ดี ตำบลปูยุด ปี 2568
รหัสโครงการ 68 - L3017 - 01 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 35,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัซยะห์ เจะยามา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.829563,101.276639place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ค. 2568 30 ก.ค. 2568 14,050.00
2 24 ส.ค. 2568 24 ส.ค. 2568 1,500.00
3 22 ก.ย. 2568 22 ก.ย. 2568 6,500.00
4 1 ต.ค. 2568 1 ต.ค. 2568 13,900.00
รวมงบประมาณ 35,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บด้วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งกำลังเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมโรคเบาหวาน นับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแล ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกช้อนอื่นๆอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง การรักษาโรคเบาหวาน โดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรครวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการ และการออกกำลังกายที่ถูกต้องพร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกช้อนได้ และสามารถลดการเกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงได้ ตำบลปูยุดมีประชากรทั้งหมด จำนวน 7,818 คน มีประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 2,584 คน ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 2,317 คน คิดเป็นร้อยละ 89.67 พบว่ามีกลุ่มเสียงจำนวน 252 คน คิดเป็นร้อยละ 10.88กลุ่มสงสัยป่วย 35 คน คิดเป็นร้อยละ 1.51 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2568 จำนวน 24 ราย คิดเป็น 306.98 ต่อแสนประชากร ซึ่งสาเหตุหลักสำคัญเกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องได้แก่ การบริโภคไม่เหมาะสมทั้งในส่วนของการรับประทานอาหารในกลุ่มที่เป็นข้าว แป้ง ที่ให้น้ำตาลสูง การบริโภคผักและผลไม้น้อย บริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มมากไป สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก การออกกำลังกายไม่เพียงพอ และการมีอารมณ์ความเครียด เป็นต้น รวมถึงในบริบทพื้นที่ตำบลปูยุด ประชาชนนิยมรับประทานอาหาร กลุ่มข้าว แป้ง และแกงกะทิ เป็นส่วนใหญ่     จากสถานการณ์ดังกล่าว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนที่นี่ภาวะเสี่ยงจึงมีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยง ป่วยด้วยโรคเบาหวาน และควรกำเนินการอย่างต่อเนื่องสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลปูยุด จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานตำบลปูยุด ปี ๒๕๖8 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,950.00 0 0.00 35,950.00
??/??/???? คืนข้อมูลให้กับกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน และอสม.พี่เลี้ยงประจำหมู่ 0 14,050.00 - -
??/??/???? ครั้งที่ ๒ ตรวจสุขภาพเบื้องตัน ได้แก่ วัดความดันโลหิต/BMM/วัดรอบเอว 0 1,500.00 - -
??/??/???? ครั้งที่ ๓ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้แก่ วัดความดันโลหิต/BMI/วัดรอบเอว 0 6,500.00 - -
??/??/???? ครั้งที่ ๔ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและอสม.พี่เลี้ยงประจำหมู่ 0 13,900.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 35,950.00 0 0.00 35,950.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเลี่ยงโรคเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคและเบาหวาน ๒. กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ ๓. อัตราการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2568 00:00 น.