กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ SMART อสม. สู่ความเป็นเลิศด้านการคัดกรองและดูแลสุขภาพ โดยชมรมอสม.ตำบลปูยุด ประจำปี 2568
รหัสโครงการ 68 - L3017 - 03 - 04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลปูยุด
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 37,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวบีเดาะ เจะอุบง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.817869,101.282122place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (37,500.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ภาระที่มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ให้ความสำคัญต่อการคัดกรอง ดูแลรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสุขภาพเชิงรุก ที่มีคุณภาพและครอบคลุมประชากรทั้งในระดับบุคคลและชุมชน จากสถานการณ์การระบาดของโรคหัวใจและหลอดเลือดในภาพรวมของประเทศจากสถิติสาธารณสุข ปี 2566 และ2567 พบว่าเป็นสาเหตุการตายลำดับที่3 และที่4และมีสาเหตุการตายเท่ากับ 56.2และ52.6ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ โดยมีภาวะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ผลการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี ๒๕67 จำนวน 2,532 คน โดยจำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มสงสัยว่าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 1,980 คน คิดเป็นร้อยละ 85.46 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 10.51 รองลงมาคือ กลุ่มสงสัยว่าจะเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 1.51 ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี ๒๕67 จำนวน 2,174 คน โดยได้จำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มสงสัยว่าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 1,612 คน คิดเป็นร้อยละ 74.15 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 368 คน คิดเป็นร้อยละ 16.93 รองลงมาคือกลุ่มสงสัยว่าจะเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 8.23 ซึ่งถือว่าผลการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ภาระที่มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ให้ความสำคัญต่อการคัดกรอง ดูแลรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสุขภาพเชิงรุก ที่มีคุณภาพและครอบคลุมประชากรทั้งในระดับบุคคลและชุมชน จากสถานการณ์การระบาดของโรคหัวใจและหลอดเลือดในภาพรวมของประเทศจากสถิติสาธารณสุข ปี 2566 และ2567 พบว่าเป็นสาเหตุการตายลำดับที่3 และที่4และมีสาเหตุการตายเท่ากับ 56.2และ52.6ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ โดยมีภาวะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ผลการคัดกรองโรคเบาหวานในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี ๒๕67 จำนวน 2,532 คน โดยจำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มสงสัยว่าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 1,980 คน คิดเป็นร้อยละ 85.46 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานจำนวน 253 คน คิดเป็นร้อยละ 10.51 รองลงมาคือ กลุ่มสงสัยว่าจะเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 1.51 ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ในปี ๒๕67 จำนวน 2,174 คน โดยได้จำแนกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มสงสัยว่าจะเป็นผู้ป่วยรายใหม่ พบมีประชาชนที่คัดกรองจัดอยู่ในกลุ่มปกติ จำนวน 1,612 คน คิดเป็นร้อยละ 74.15 และพบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 368 คน คิดเป็นร้อยละ 16.93 รองลงมาคือกลุ่มสงสัยว่าจะเป็น ผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 8.23 ซึ่งถือว่าผลการคัดกรองพบมีกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่สงสัยเป็นโรค สูง ทั้ง 2 โรค ฉะนั้น การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับการวัดความดันโลหิตหรือตรวจหาน้ำตาลในเลือด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จากข้อมูลดังกล่าว ชมรมอาสามสมัครสาธารณสุขตำบลปุยุด จึงจัดทำโครงการ SMART อสม สู่ความเป็นเลิศด้านการคัดกรองและดูแลสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการคัดกรองสุขภาพ และสนับสนุนให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพ วัดความดันโลหิต และตรวจเบาหวาน ให้มากที่สุด โดยคาดหวังว่า ให้ประชาชนรับรู้สถานะสุขภาพและร่วมกันดูแลสุขภาพ รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพ มีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่าง ๆ ต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี

ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย ร้อยละ 80

2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 80 ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

3 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 ที่ตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

4 4.อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปูยุดมีความรู้และสามารถคัดกรองสุขภาพได้

ร้อยละ 70 ของสาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และสามารถปฏิบัติการคัดกรองได้ถูกต้อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 37,500.00 0 0.00 37,500.00
3 มิ.ย. 68 1.สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลประชากร อายุ 35 ปี ขึ้นไป 0 0.00 - -
27 มิ.ย. 68 - 27 ก.ค. 68 2.ประสานงานกับแกนนำชมรมสร้างสุขภาพ/ อสม. ของแต่ละหมู่บ้าน 0 0.00 - -
14 ส.ค. 68 3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ในการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 70 14,000.00 - -
28 ส.ค. 68 4.ชมรมสร้างสุขภาพ/ อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ตามแนวทางการดำเนินงานที่ได้กำหนดไว้ 0 23,500.00 - -
รวมทั้งสิ้น 70 37,500.00 0 0.00 37,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอย่างต่อเนื่องทุกปี
  2. ประชาชนที่ทราบว่ามีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องไม่เป็นภาระในการดูแล รักษาภาระต่อครอบครัวและสังคม
  3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ได้รับการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  4. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้อละสามารถคัดกรองสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2568 00:00 น.