กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่ง งบประมาณ 2568

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่ง งบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L8409-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง
วันที่อนุมัติ 4 กรกฎาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไอริณ เจ๊ะบา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากมีผลกระทบต่อประชาชนไทยทุกกลุ่มวัยได้แก่ เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์เป็นปัญหาสุขภาพที่แทรกซ้อนขึ้นมาระหว่างตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่คนท้องควรระวังและต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะผลกระทบไม่ได้เกิดขึ้นกับแม่ท้องคนเดียว แต่ยังจะส่งผลกระทบต่อทารกน้อยในครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง จากการสำรวจสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ในปีงบประมาณ 2567 ในประเทศไทยพบว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก สูงถึงร้อยละ 17.34 ซึ่งเป้าหมายกรมอนามัยกำหนดให้ไม่เกิน ร้อยละ 14 นอกจากนี้ยังพบว่าเขตสุขภาพที่ 12 พบถึงร้อยละ 18.12
ในส่วนตัวชี้วัดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง ปี 2567 ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์สูง  23.50 % เป้าหมายไม่เกิน 14 % และในหญิงที่คลอดบุตรแล้วในเขตรับผิดชอบมีภาวะโลหิตจาง 36.36 %
ไม่มีคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2500 กรัม ในส่วนที่เป็นปัญหาคือบางรายฝากคลินิก และบางรายไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ย้ายถิ่นฐาน บ่อย ติดตามไม่ได้ ในปี2568 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เนื่องจากหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด เป็นวัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อทารกและเด็กซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่ง งบประมาณ 2568 โดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วนตนเอง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการมีบุตร หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด มีความรู้เรื่องแนวทางควบคุมป้องกันโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก,ผลกระทบของการขาดธาตุเหล็ก,อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง 2. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการมีบุตร หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการติดตามและได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก 3. เพื่อลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ไม่เกิน 14 %

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ,อสม. 2.เขียนโครงการ/เสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
3.ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและสำรวจกลุ่มเป้าหมาย
4.ดำเนินงานตามโครงการ
4.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความพร้อมอยากมีบุตร หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด ในเรื่องแนวทางควบคุมป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก,ผลกระทบการขาดธาตุเหล็ก,อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง 4.2 ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีความพร้อมอยากมีบุตร หญิงตั้งครรภ์ และหลังคลอด เพื่อให้ความรู้และแนะนำวิธีการกินยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการกินยา โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ 4 ครั้ง (3 เดือน/ครั้ง) 5.สรุปผลการติดตามภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์ /ประเมินผล / สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่พร้อมจะมีบุตร หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด มีความรู้ในเรื่องการควบคุมป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงทำให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตัวเองและสมาชิกในครอบครัว 2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะมีบุตร หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการติดตามและได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก 80 % 3..เพื่อลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ไม่เกิน 14 %
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2568 10:24 น.