โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง รพ.สต.บ้านทุ่ง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง รพ.สต.บ้านทุ่ง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8409-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง |
วันที่อนุมัติ | 4 กรกฎาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางนูรีซัน ไปรฮูยัน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.725,100.035place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 48 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก รวมถึงประเทศ ไทย ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease, ESRD) ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับ ค่าใช้จ่ายในการรักษาซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่การบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตเรื้อรังและชะลอความเสื่อมของไต จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง รวมถึงการติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มประชาชนที่มีความ เสี่ยง และเกิดการชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง รพ.สต.บ้านทุ่ง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้น
จากข้อมูลการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มสงสัยป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยกลับของ รพ.แม่ข่ายเพื่อลดความแออัด จึงมีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของ รพ.สต.บ้านทุ่ง ในปี 2565 จำนวน 237 คน ปี 2566 จำนวน 242 คน ปี 2567 จำนวน 254 คน จะเห็นได้ว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ รพ.สต.บ้านทุ่ง มีจำนวนผู้ป่วย ที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a จำนวน 43 ราย 3b จำนวน 4 ราย และระดับ 4 จำนวน 2 ราย กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง ไม่ให้การทำงานของไตแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งปัจจัยหลักในการดูแลสุขภาพ เน้นในเรื่อง 3อ2ส การใช้ยาเบาหวาน ยาความดันโลหิต ยาอื่นๆ สมุนไพรต่างๆ รวมไปถึง ญาติผู้ดูแลต้องมีความรู้ ในการดูแล เฝ้าระวัง ส่งเสริมและป้องกัน ไม่ให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่ง จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง รพ.สต. บ้านทุ่ง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว สามารถควบคุมความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรังได้ โดยมีญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้ ความสามารถจัดการปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยได้ถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง สามารถดูแล ส่งเสริม เฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม 2. เพื่อส่งเสริมความรู้แกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแล เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมโครงการ
1. ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินงาน
2. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยแกนนำ อสม.และผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
3. จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในโครงการ
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง
1.ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยมีแกนนำ อสม.เป็นผู้รับลงทะเบียน
2. ผู้เข้ารับการอบรม และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง ทำแบบทดสอบก่อนการอบรมให้ความรู้
3. แจ้งข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้รับรู้ถึงระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรังของตนเอง
4. อบรมให้ความรู้ผู้ป่วย และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง ในเรื่องของระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน
ไตวายเรื้อรัง การดูแลส่งเสริม สุขภาพ และการเฝ้าวัง ในเรื่อง 3อ.2ส การใช้ยาต่างๆ การใช้สมุนไพร และผลของการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตที่ไม่ดี
5. ผู้เข้าร่วมอบรม ทำแบบทดสอบหลังการอบรมให้ความรู้ และเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย พร้อมทั้งเฉลยข้อสอบ
6. กล่าวสรุปกิจกรรม โดยเจ้าของโครงการ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4 รู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4 มีความรู้เกี่ยวกับระยะความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง สามารถส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง เหมาะสม ส่งผลให้ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง
- แกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะไตวายเรื้อรังและสามารถส่งเสริมความรู้ ให้แก่ผู้ป่วยได้ถูกต้องเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2568 12:31 น.