กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค รพ.ปากพะยูน
รหัสโครงการ 61-L3337-2-23
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลปากพะยูน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 8,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฉลวย ชีญาติ
พี่เลี้ยงโครงการ กำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยดลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาวะวัณโรคสุง High Burden Country Lists เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1)มีภาวะโรควัณโรคสูง (TB) 2)มีภาระวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีสูง TB/HIV และ 3)มีวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง MDR-TB ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูงทั้ง 3 กลุ่ม ดังกล่าวมา ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค The End TB Strategy โดยมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค Incidence ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปี พ.ศ. 2578(2035) การจะบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติการณ์ดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยต้องมีอัตราลดอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 12 ต่อปี ในขณะที่ปัจจุบันระยะ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีอัตราลดลงของอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 207 ต่อปี ดังนั้นการที่บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคจำเป็นต้อง (1) เร่งรัดการค้นหา วินิจฉัย และรายงานให้ครอบคลุมร้อยละ90(2)สนับสนุนการเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยในประชากรกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยงวัณโรคให้ครอบคลุ่มร้อยละ90(3)ดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่ตรวจพบทุกรายให้มีอัตราความสำเร็จการรักษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ90ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณ120000 ราย หรือคิดเป็น 171 ต่อประชากรแสนคน (WHO,Global TB Report 2015)แต่จากระบบรายการงานผลการดำเนินงานวัณโรคปีงบประมาณ 2557 มีผู้ป่วยโรคขึ้นทะเบียบรักษา67,789 รายคิดเป็นอัตราการตรวจพบ(Detection rate) เพียงร้อยละ59 และในปีงบประมาณ 2558 มีรายงานผู้ป่วยวัณโรคขึ้นทะเบียนรักษา 62,154 รายคิดเป็นอัตราการตรวจพบ (Detection rate)เพียงร้อยละ 55.3 นอจจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้น โดยในปี 2557 มีรายงานผู้ป่วยวัณโรคในแรงงานข้ามชาติสูงสุดถึง 3,091 ราย ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อยเป็นปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมที่มีผลต่อการควบคุมวัณโรคในขณะที่อัตราผลสำเร็จการรักษายังต่ำเพียงร้อยละ 81 (ที่มา:เอกสารประกอบการจัดทำแผนปฎิบัติราชการ กรมควบคุมโรคปีงบประมาณ พ.ศ.2560: 17 มิถุนายน 2559) สำหรับเป้าหมายการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ทุกประเภทที่ตรวจพบและรายงานร้อยละ 80 ของที่คาดว่าจะมีในชุมชน (171:100,000 ประชากร) ปีงบประมาณ 2560 จังหวัดพัทลุง มีจำนวนประชากรกลางปี จำนวน 521,570 ราย เท่ากับ 892 ราย ผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทที่ตรวจพบร้อยละ 80 คิดเป็น 714 ราย อำเภอปากพะยูน ประชากรกลางปี 51,177 ราย เท่ากับ 80 รายผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทที่ตรวจพบ 80 คิดเป็น 70 ราย และศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน ประชากรกลางปี จำนวน 5,565 ราย เท่ากับ 10 ราย ผู้ป่วยวัฌโรคทุกประเภทที่ตรวจพบร้อยละ 80 คิดเป็น 8 ราย ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานวัณโรคในการเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ดังกล่าวศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปากพะยูน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรครายใหม่เพื่อให้ได้รับการรักษาตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหาผู้อาจจะป่วยเป็นโรครายใหม่ในชุมชน

1.กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคในชุมชน

1.กลุ่มเป้าหมายที่ผลการคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อพบแพทย์ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,320.00 0 0.00
7 มี.ค. 61 จัดอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะให้กับแกนนำในการคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยวัณโรค 0 8,320.00 -

1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ร่วมกับแกนนำสำรวจกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 3.จัดอบรมให้ความรู้และฝึกทักษะให้กับแกนนำในการคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยวัณโรค 4.คัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน 5.ส่งต่อรับการรักษาพยาบาลกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง 6.สรุปผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคในชุมชน 2.ลดการแพร่กระจายของโรคในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2561 13:04 น.