โครงการพลังภูมิคุ้มกันแรกเริ่ม เพื่ออนาคตเด็ก 0-5 ปี ตำบลทุ่งคล้า
ชื่อโครงการ | โครงการพลังภูมิคุ้มกันแรกเริ่ม เพื่ออนาคตเด็ก 0-5 ปี ตำบลทุ่งคล้า |
รหัสโครงการ | 68-L3054-2-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งคล้า |
วันที่อนุมัติ | 13 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 28,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมารีแย การี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.688,101.543place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 97 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กถือเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กวัย 0-5 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตทางร่างกายและสติปัญญาอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงวัยที่ต้องการการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง โดยการได้รับวัคซีนพื้นฐานถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับ เพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก หัด และโปลิโอ แม้ว่าการฉีดวัคซีนพื้นฐานจะได้รับการสนับสนุนและดำเนินการอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศมุสลิมเช่น ซาอุดีอาระเบีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย แต่ในพื้นที่ตำบลทุ่งคล้า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (รายงานแบบสอบถามการให้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ตำบลทุ่งคล้า กุมภาพันธ์ 2567) ยังพบอุปสรรคสำคัญในการส่งเสริมการฉีดวัคซีน เนื่องจากผู้ปกครองบางส่วนมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงและความปลอดภัยของวัคซีน โดยเฉพาะหลังจากประสบการณ์เชิงลบจากการฉีดวัคซีน COVID-19 อีกทั้งยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีน ในแง่ศาสนา รวมถึงข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ เช่น วัคซีนอาจทำให้เด็กพิการหรือขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม จากรายงานการฉีดวัคซีนในตำบลทุ่งคล้า พบว่าอัตราความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 0-5 ปีต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรค ที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน รวมถึงการพบโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนจำนวนมากในพื้นที่ ซึ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก ในการนี้เพื่อให้เด็กวัย 0-5 ปี ตำบลทุ่งคล้า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ได้รับวัคซีนพื้นฐานอย่างครบถ้วนและครอบคลุม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทุ่งคล้า จึงได้จำทำโครงการพลังภูมิคุ้มกันแรกเริ่ม เพื่ออนาคตเด็ก 0-5 ปี ตำบลทุ่งคล้า โดยเน้นที่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง การลดความกลัว และเสริมสร้างแรงจูงใจในการฉีดวัคซีนผ่านการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่ายและสอดคล้องกับบริบททางศาสนาและวัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อปกป้องเด็กวัย 0-5 ปี ในตำบลทุ่งคล้าให้มีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยจากโรคร้ายในอนาคต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 0-5 ปี
|
||
2 | เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
|
||
3 | เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
|
||
4 | เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-5ปีได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.เพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 0-5 ปี ร้อยละ 10 2.ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ 90 ๓.ร้อยละ 100 อสม.มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐-๕ ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2568 14:34 น.