กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปิตูมุดีรวมใจพิชิตยุงลาย ควบคุมป้องกันโรคร้ายไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประเทศไทย ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 16 ตุลาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสม จำนวน 88,133 ราย (รายงานเพิ่มขึ้น 1,709 ราย) อัตราป่วย 133.09 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วยเดือนตุลาคม พ.ศ.2567 มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่า ปี พ.ศ.2566 จำนวน 1.90 เท่า และมากกว่า ค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (ปี พ.ศ.2562 - 2566) 1.3 เท่า จังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสม 5 อันดับแรกคือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดภูเก็ต จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำพูน และจังหวัดน่าน ตามลำดับ อัตราป่วยสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 5-14 ปี อายุ 15-24 ปี และอายุ 0-4 ปี ตามลำดับ ผู้ป่วยเสียชีวิตยืนยัน จำนวน 73 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.08 ต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุ ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ เข้ารับการรักษาล่าช้า มีภาวะอ้วน มีโรคประจำตัว และมีประวัติได้รับยา NSAID ตามลำดับ จังหวัดปัตตานี มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ และประสบปัญหามาตลอด โดยในปี 2567 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 2,443 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 398.59 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.08 อำเภอที่มีอัตราป่วยสะสม 5 อันดับแรกของจังหวัดปัตตานี คือ อำเภอสายบุรี อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอยะรัง และอำเภอโคกโพธิ์ ตามลำดับ สถานกาารณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอยะรัง พบผูป่วยจำนวน 410 ราย อัตราป่วย 522.09 ต่อแสนประชากร ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ตำบลปิตูมุดี พบผู้ป่วยจำนวน 16 ราย อัตราป่วย 240.28 ต่อแสนประชากรตำบลปิตูมุดีเป็นตำบลหนึ่งที่พบผูป่วยเกือบทุกปี เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกรวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน โรงเรียน และมัสยิด อย่างต่อเนื่อง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิตูมุดี จึงได้จัดทำโครงการปิตูมุดีรวมใจพิชิตยุงลาย ควบคุมป้องกันโรคร้ายไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผุ้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน มัสยิด

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีความตระหนัก ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00 20,000.00
16 ก.ค. 68 อบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพของ แกนนำชุมชน และผู้นำศาสนา ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และทำสมุนไพรไล่ยุงจากภูมิปัญญาชุมชน 0 10,350.00 - -
16 ก.ค. 68 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยแกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 0 9,650.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 20,000.00 0 0.00 20,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก
  2. ทำให้สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  3. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2568 09:44 น.