กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันดี
รหัสโครงการ 68-L5268-3-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดกูวาเต็ลอิสลาม
วันที่อนุมัติ 15 กรกฎาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 11,245.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเกษรินทร์ คเชนทองสุวรรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 47 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการตรวจสภาวะทันตสุขภาพของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของ รพ.สต.ม่วงงาม อำเภอสิงหนคร ครั้งที่ 1 ปี 2567 เด็กอายุ 2 – 4 ปี มีฟันผุร้อยละ 26.52 ครั้งที่ 2 ปี 2567 พบว่าเด็กอายุ 2 - 4 ปี มีฟันผุร้อยละ 32.86 ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าสภาวะความชุกโรคฟันผุของเด็กปฐมวัย มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งโรคฟันผุเป็นปัญหาที่สำคัญด้านทันตสาธารณสุข ปัญหาการเกิดโรคฟันผุและการติดเชื้อในช่องปากในเด็กปฐมวัย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเด็กปฐมวัย และส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการจากการไม่สามารถรับประทานอาหารได้เต็มที่ นอกจากนี้เด็กที่มีฟันผุลุกลาม จะมีผลเสียต่อสุขภาพชีวิตและเมื่อมีอาการเจ็บปวดยังทำให้ขาดสมาธิในการเรียน จนกระทั่งต้องขาดเรียนเนื่องจากอาการปวดและต้องไปรับบริการรักษา   สาเหตุการเกิดโรคฟันผุส่วนใหญ่ในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครองและการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ขาดความช่วยเหลือและสนับสนุน การมีส่วนร่วมในการฝึกทักษะต่างๆ ดังนั้นการส่งเสริมให้คำแนะนำ เน้นฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงเป็นกลไกสำคัญก่อเกิดประโยชน์อย่างมากในการควบคุมโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย จึงควรเน้นหนักในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุร่วมกับการทำความเข้าใจส่งเสริมให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดยามีอัลอิสลาม ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทางด้านทันตกรรม  เพื่อต้องการกระตุ้นผู้ปกครอง ครู และผู้ดูแลเด็ก ส่งเสริมการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และเกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแนวทางการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพช่องปาก และเกิดสภาวะทันตสุขภาพของเด็กปฐมวัยที่ดีขึ้นตามไปด้วยนั้น จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองม่วงงาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อควบคุมโรคในช่องปากและลดอัตราการสูญเสียฟันแท้ในเด็กวัย 2 – 4 ปี

ปัญหาเกี่ยวกับทันตสุขภาพของเด็กวัย 2 – 4 ปี ลดลง ร้อยละ 3

2 2.เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู และผู้ดูแลเด็ก มีการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพแก่เด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดกูวาเต็ลอิสลาม

ผู้ปกครอง ครู และผู้ดูแลเด็ก เด็กอายุ 2 – 4 ปี มีทักษะในการดูแลทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
14 ก.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสภาวะทันตสุขภาพของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พร้อมร่วมหาทางแก้ปัญหาทันตสุขภาพสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดกูวาเต็ลอิสลาม 47 11,245.00 -
รวม 47 11,245.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก สำหรับเด็กปฐมวัย     ๒. เด็กอายุ 2 – 4 ขวบ แปรงฟันสะอาดเพิ่มขึ้น     ๓. เด็กอายุ 2 – 4 ขวบ ไม่มีฟันผุเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2568 14:59 น.