โครงการส่งเสริมสุขภาพข้อเข่าด้วยธาราบำบัด ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพข้อเข่าด้วยธาราบำบัด ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | L7250-3-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลนครสงขลา |
วันที่อนุมัติ | 17 กรกฎาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 กรกฎาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 60,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพรรณี พรหมอ่อน ตำแหน่ง ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.204461,100.597547place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในคนสูงอายุทุกเชื้อชาติ พบได้ร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป ข้อมูลล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยป่วยโรคข้อเสื่อมกว่า 6 ล้านคน มากที่สุดคือข้อเข่า เนื่องจากเป็นอวัยวะที่แบกรับน้ำหนักตัวโดยตรงซึ่งทำหน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่าตัว คาดว่าผู้ป่วยโรคนี้จะเพิ่มขึ้นมากจากปัญหาโรคอ้วน ผลการวิจัยทั่วโลก ยืนยันตรงกันพบมีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมถึง 1.4 เท่าตัว โดยผู้หญิงเสี่ยง 4.37 เท่าตัว และผู้ชายเสี่ยง 2.7 เท่าตัว ซึ่งขณะนี้ผลสำรวจทั่วประเทศไทยมีคนอ้วนประมาณ 16 ล้านคน โดยมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน ซึ่งปัจจุบันในเขตเทศบาลนครสงขลาก็พบผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวนมาก หากไม่เร่งควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คาดว่าในอนาคตจะพบผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่วัยหนุ่มสาว โดยได้มีการศึกษาวิจัยรูปแบบการฟื้นสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาข้อเสื่อมและมีน้ำหนักตัวมากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบจัดบริการฟื้นฟูที่เหมาะสมในการบำบัดอาการปวด ลดน้ำหนักตัว ชะลอความเสื่อมข้อเข่า เพื่อรองรับการจัดบริการ ในสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีผู้สูงอายุถึง 10 ล้านคน ซึ่งพบว่าธาราบำบัด หรือ Hydrotherapy เป็นเทคนิคการรักษา ที่อาศัยคุณสมบัติของน้ำที่มีทั้งแรงลอยตัวและแรงดันน้ำ มาเป็นตัวช่วยในการออกกำลังกายให้หลากหลายคือการใช้คุณสมบัติของน้ำ ช่วยพยุงรับทุกส่วนของร่างกาย ทำให้เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ลดแรงกระแทก และบรรเทาความเจ็บปวด ฉะนั้นธาราบำบัดจึงสามารถฟื้นฟูได้ทั้งร่างกายและจิตใจผู้ป่วย โดยผู้ป่วยกลุ่มหลักๆ ที่สามารถใช้ธาราบำบัดเยียวยาได้ ได้แก่ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ที่มีปัญหากระดูกหัก ผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคข้อ บุคคลทั่วไปที่มีความเครียด และเหล่านี้ คือประโยชน์โดยตรงของธาราบำบัดต่อสุขภาพข้อต่อ ในฐานะที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพข้อเข่าด้วยธาราบำบัด ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อผ่อนคลาย ลดอาการ ลดปัญหา ลดความเจ็บปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ลดปัญหาข้อยึดติดและ ความเสียสมดุลทรงตัว รวมทั้งเพื่อส่งเสริมสุขภาพของร่างกาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่าของประชาชน 1.ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่า |
80.00 | |
2 | 2.เพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว 2.ร้อยละ 50 ของผู้ป่วย pain score อาการป่วยข้อเข่าอยู่ในระดับที่ดีขึ้น |
50.00 |
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.ค. 68 | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมการฝึกอบรมโดยการบรรยายและการฝึกปฏิบัติในน้ำ กิจกรรมการออกกำลังกายในน้ำ (ต่อเนื่อง) จำนวน 8 ครั้ง (สัปดาห์ละ 1 ครั้ง)(17 ก.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 60,700.00 | |||
รวม | 60,700.00 |
1 กิจกรรมการฝึกอบรมโดยการบรรยายและการฝึกปฏิบัติในน้ำ กิจกรรมการออกกำลังกายในน้ำ (ต่อเนื่อง) จำนวน 8 ครั้ง (สัปดาห์ละ 1 ครั้ง) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 60,700.00 | 0 | 0.00 | 60,700.00 | |
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวิทยากรบรรยาย | 0 | 1,200.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติ | 0 | 6,000.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเป้าหมาย | 0 | 16,800.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากรและเจ้าหน้าที่ | 0 | 2,800.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าสถานที่ | 0 | 9,600.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าอุปกรณ์สำหรับฝึกปฏิบัติ | 0 | 17,250.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าวัสดุสำหรับยืดเส้นลดอาการปวดเมื่อย | 0 | 6,000.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ | 0 | 750.00 | - | - | ||
17 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ค่าจัดทำรูปเล่มโครงการ | 0 | 300.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 60,700.00 | 0 | 0.00 | 60,700.00 |
- ประชาชนได้รับการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลภาวะสุขภาพข้อเข่าในระดับดี
ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
- มีการใช้น้ำเป็นสื่อรักษาในลักษณะการฝึกออกกำลังกายในน้ำและการรักษาด้วยคุณสมบัติของน้ำ
- สามารถชะลอความเสื่อมของข้อเข่า ลดอาการปวด และเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว
- ประชาชนได้รับส่งเสริมสุขภาพผ่อนคลายความเครียด 5. ผลการประเมินความปวดข้อเข่าใช้น้ำเป็นสื่อในการรักษา โดยใช้ pain score อยู่ในระดับที่ดีขึ้น จากเดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2568 14:42 น.