กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
รหัสโครงการ ๖๑ - L๘๓๖๘ – ๑ – ๑
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประมวลทองอินทราช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ก.ค. 2561 10 ก.ค. 2561 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะที่มีการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆเกิดขึ้นมากว่าปกติ เพราะอัตราการเติบโตของทารกในครรภ์สูงกว่าระยะอื่นๆของชีวิต ความต้องการสารอาหารและพลังงานระหว่างตั้งครรภ์จึงมีมากกว่าระยะอื่นๆถ้ามารดาได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในปริมาณที่เพียงพอ มารดาจะมีสุขภาพสมบูรณ์และให้กำเนิดทารกที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้ามารดากินอาหารที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เพียงพอมักทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง โลหิตเป็นพิษขณะตั้งครรภ์ เด็กเกิดใหม่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กต่อไปในอนาคต เทศบาลตำบลศรีสาครเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้ดำเนินการส่งเสริมภาวะโภชนาการในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากจนผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕9 มีหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ ๑๒๗ คน มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๕๒ทารกที่คลอดทั้งหมดมีจำนวน๑๒๓ คน มีทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม มีจำนวน ๙ คน คิดเป็น ร้อยละ ๗.๓๒ส่วนในปีงบประมาณ ๒๕60 หญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ ๑๑๔ คน มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๐๑ทารกที่คลอดทั้งหมดมีจำนวน๙๑ คน มีทารกน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม มีจำนวน ๔ คน คิดเป็น ร้อยละ ๔.๓๙จะเห็นได้ว่าทารกที่มีน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐กรัม มีอัตราส่วนลดลง งานส่งเสริมสุขภาพกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลศรีสาครจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด มีภาวะโภชนาการที่ดี และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อันจะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัยซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปของชาติโดยมุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชนด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลและส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์,หญิงหลังคลอดในชุมชน

หญิงมีครรภ์/หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมบ้าน90%

90.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในชุมชน

เครื่อข่ายเข้าร่วมอบรมร้อยละ๑๐๐

100.00
3 เพื่อให้หญิงมีครรภ์,หญิงหลังคลอดความรู้

หญิงมีครรภ์,หญิงหลังคลอดมีความรู้เพื่มขึ้นร้อยละ60

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 1 10,000.00
10 ก.ค. 61 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หญิงมีครรภ์,หญิงหลังคลอด 0 10,000.00 10,000.00

๑. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ/ให้ความรู้แก่ผู้นำ /ประธานชุมชน/อสม./กลุ่มผู้ป่วยและญาติ 2 .การสำรวจ ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ 3. ส่งเสริมโภชนาการ,ไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ 4. ออกเยี่ยมบ้านเดือนละครั้ง ก่อนคลอด/หลังคลอดโดยทีมเยี่ยมบ้านชุมชน และทีมสหวิชาชีพ 5.ติดตามการขาดนัดและกลุ่มเสี่ยง 6.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้จัดกลุ่ม / Self health groupหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด/หญิงวัยเจริญพันธ์ 7.ประเมินความพึงพอใจและสรุปผลการดำเนินงาน 8.ทำแบบประเมินพฤติกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมความรู้/ทักษะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เครื่อข่ายสุขภาพในชุมชนเข้าร่วมอบรมร้อยละ๑๐๐ 2.ร้อยละ๙๐ ของหญิงมีครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนได้รับการเยี่ยมบ้าน 3.ร้อยละ๙๐หญิงหลังคลอดและบุตรได้รับการเยี่ยมบ้านและส่งเสริมสุขภาพ 4.หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จัดกลุ่ม/ Self health group มีความรู้เพื่มขึ้นร้อยละ ๖๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2561 11:19 น.