กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนโคกมะเฟืองร่วมใจร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยปิงปองเจ็ดสี ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2487-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม. หมู่ ๑ บ้านโคกมะเฟือง
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 14,370.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพันทิกา เพ็ชร์พรหม
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะยูนันมามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปีงบประมาณ 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยใช้แนวทางการดำเนินงานที่มีชื่อว่า “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” เป็นระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มปกติ/เสี่ยง/ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติสำหรับสถานบริการสุขภาพระดับ ปฐมภูมิฉบับนี้ได้ประยุกต์จากแนวคิดการคัดกรองประชาชน อายุ 15-65 ปีขึ้นไป ตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ภายใต้ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในประเทศไทย : นโยบาย สู่ การปฏิบัติเพื่อส่งเสริมให้พื้นที่นำสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างสอดคล้องเชื่อมโยงอย่างเหมาะสม สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (ดื่มสุรา สูบบุหรี่) ในการควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็งซึ่งมีหลักการดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นที่หนึ่งคัดกรองประชาชน อายุ 15-65 ปีขึ้นไป และจำแนกเป็น 7 สี/7 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ (สีขาว) กลุ่มเสี่ยง (สีเขียวอ่อน) และกลุ่มป่วยต้องกินยาควบคุมอาการ ได้แก่ ป่วยระดับ 0 (สีเขียวเข้ม) ป่วยระดับ 1 (สีเหลือง) ป่วยระดับ 2 (สีส้ม) ป่วยระดับ 3 (สีแดง) และป่วยรุนแรงมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตา ไต เท้า (สีดำ) ขั้นที่สองดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (สุรา สูบบุหรี่) เพื่อควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็ง ขั้นที่สามกระบวนการสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสี่การติดตามประเมินผลจากระดับความสีที่ลดลงซึ่งลดความรุนแรงลง จากการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตและเบาหวาน ในกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ปีงบประมาณ 2560 ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านโคกมะเฟือง พบกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 345 คน และพบกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 337 คน กลุ่มชมรมอสม. หมู่ 1 บ้านโคกมะเฟือง จึงเห็นความสำคัญถึงกระบวนการดังกล่าวที่จะส่งผลต่อการกระตุ้นความตระหนักในการติดตามความรุนแรงของโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนด้วยตนเอง โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม และมีรพ.สต.ศาลาใหม่ เป็นพี่เลี้ยงในการจัดการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กลุ่มชมรมอสม. หมู่ 1 บ้านโคกมะเฟือง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคืนข้อมูลสุขภาพแก่ประชาชนและชุมชน

กลุ่ม/ชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย มีการรวมตัวกันตรวจสุขภาพ บันทึกผล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตัวเองผ่านกระบวนการของปิงปอง 7 สี หรือด้วยนวัตกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่องทุกๆ 1-2 เดือน

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เกิดความตระหนัก ในการตรวจสุขภาพ เฝ้าระวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง

กลุ่ม/ชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย มีการรวมตัวกันตรวจสุขภาพ บันทึกผล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตัวเองผ่านกระบวนการของปิงปอง 7 สี หรือด้วยนวัตกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่องทุกๆ1-2 เดือน

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนด้วยกันเอง

เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดความยั่งยืนในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนด้วยกันเอง

0.00
4 เพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

กลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยสีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีดำ มีการเปลี่ยนแปลงของสีที่ดีขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 50 ของคนที่เข้าร่วมทั้งหมด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมตรวจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตนเอง 50 8,120.00 8,120.00
3 ม.ค. 61 กิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง 50 1,250.00 1,250.00
7 มี.ค. 61 กิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง 50 1,250.00 1,250.00
2 พ.ค. 61 กิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง 50 1,250.00 1,250.00
4 ก.ค. 61 กิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง 50 1,250.00 1,250.00
5 ก.ย. 61 กิจกรรมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง 50 1,250.00 1,250.00
รวม 300 14,370.00 6 14,370.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1. ประสานงานเครือข่ายและหน่วยงานในการขอสนับสนุนด้านต่างๆ ในการจัดทำโครงการ 2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ 3. จัดทำแผนกำหนดวันออกปฏิบัติการเยี่ยมติดตามโดยทีม อสม.และหมอครอบครัว ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ 4. กลุ่ม/ชุมชน มีการรวมตัวกันและนัดหมายกลุ่มเป้าหมาย 50 คน (เริ่มตั้งแต่สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีดำ) อย่างน้อยทุกๆ 1-2เดือนๆละ 1 ครั้ง ในการเข้าร่วมกิจกรรมตรวจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามเฝ้าระวังสุขภาพด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการของปิงปอง 7 สี หรือด้วยนวัตกรรมอื่นๆอย่างต่อเนื่อง(ตรวจสุขภาพ : ตรวจความดันโลหิต (BP)ทุกๆ 1 เดือน และตรวจน้ำตาลในเลือด (FBS) ทุกๆ 3 เดือน) 5. กลุ่ม/ชุมชน ร่วมกันจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง (ตั้งแต่สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีดำ) ในการร่วมถอดบทเรียนนำไปสู่เครือข่ายการเฝ้าระวังสุขภาพระดับชุมชนที่ยั่งยืน 6. เยี่ยมบ้านติดตามผู้ป่วยตามแผนโดยทีม อสม.และหมอครอบครัว ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล : ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ 4 การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง : ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับให้ความรู้ในการจัดการหรือดูแลสุขภาพของตนเองในการควบคุมป้องกันโรคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ติดตามและเยี่ยมบ้านทุกๆ 2 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนตระหนักและใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหรือวิถีชีวิตที่ก่อหรือเสริมการเป็นโรคได้ถูกต้องเหมาะสม
  2. อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/อัมพฤกษ์ อัมพาตลดลง
  3. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานลดลง
  4. เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ และประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2561 10:38 น.