กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันเชิงรุกเพื่อเด็ก 0-5 ปี ตำบลม่วงเตี้ย มีสุขภาพดี ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L3020-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2560
งบประมาณ 35,045.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมรัฐคงเขียว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ม.๑ ณ รพ.สต.ม่วงเตี้ย, ม.๒ ณ มัสยิดบ้านคูระ, ม.๓ ณ มัสยิดบ้านตันหยง, ม.๔ ณ อบต.ม่วงเตี้ย, ม.๕ ณ มัสยิดดาแลมือรียง และ ม.๖ ณ มัสยิดกือลองแตยอ
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677,101.266place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 189 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้มีนโยบายของงาน Smart kids กล่าวคือการที่เด็กปัตตานีอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพดีและไม่มีโรค ซึ่งประกอบด้วยความครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ วัคซีนครบตามเกณฑ์ พัฒนาการสมวัย สุขภาพฟันดี และโภชนาการสมส่วน เพื่อให้งาน Smart kids ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด ฉะนั้นเด็กอายุ 0-5 ปีทุกคนควรได้รับวัคซีนครบ ได้รับการตรวจพัฒนาการตามวัย ได้รับการเสริมโภชนาการและได้รับบริการทางทันตกรรมพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนและโรคอื่นๆ สามารถป้องกันได้ด้วยตัวเอง โดยการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีด ตรวจพัฒนาการ ฝึกการแปรงฟัน และเสริมโภชนาการ ให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค และกำลังทรัพยากรด้านสาธารณสุขต้องดำเนินการในทุกพื้นที่ จำเป็นต้องประสานสอดคล้องกับแผนงานหรือโครงการด้านสาธารณสุขอื่นๆ เช่น งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ พัฒนาการ ทันตกรรม งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออื่นๆ
จากข้อมูลผลการดำเนินงานปี 2559 ที่ผ่านมาพบว่า จำนวนเด็กอายุ 0-5 ปีในเขต ต.ม่วงเตี้ยทั้งหมด 487 คน พบจำนวนเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจำนวน 189 คน ดังนี้ - ได้รับวัคซีนไม่ครบจำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80
- เด็กที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 14.37 - เด็กที่ไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ จำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 18.06
- เด็กฟันผุ จำนวน85 คน คิดเป็นร้อยละ 17.45 ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่พบว่า เด็กไม่ได้รับวัคซีนเนื่องจาก ผู้ปกครองยังขาดความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติว่าฉีดวัคซีนไปแล้ว กลัวลูกพิการเดินไม่ได้ กลัวลูกไม่สบาย, เด็กที่น้ำหนักน้อย สาเหตุเกิดจากฐานะทางบ้านไม่ดี รายได้น้อยและขาดความรู้ในด้านโภชนาการ, เด็กที่ไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ สาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไปทำงานนอกพื้นที่ ขาดความตระหนัก และขาดอุปกรณ์การตรวจสำหรับลงพื้นที่ และในส่วนเด็กฟันผุ สาเหตุหลักเกิดจาก การแปรงฟันไม่สะอาด ไม่ถูกวิธี ผู้ปกครองขาดทักษะในการแปรงฟัน รวมถึงขาดความรู้ในการปฏิบัติตนของผู้ปกครองและการเลือกบริโภคอาหารให้เด็ก ซึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน รวมถึง อสม. ในพื้นที่ เพื่อให้ทุกงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ในการนี้ รพ.สต.ม่วงเตี้ย จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ ส่งเสริมป้องกันเชิงรุกเพื่อเด็ก 0-5ปี ต.ม่วงเตี้ย มีสุขภาพดีขึ้น เพื่อให้ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการฝึกแปรงฟัน ร้อยละ 100

 

2 2.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่พบฟันผุเพิ่มเติมจากเดิม

 

3 3.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

 

4 4.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการ ร้อยละ 100

 

5 5.เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปีที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับการแก้ไขตามสภาพปัญหา ร้อยละ 100

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมให้ความรู้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและอสม. เพื่อชี้แจงแนวทางผลการดำเนินงาน 2.แจ้งแผนการปฏิบัติการลงพื้นที่เชิงรุกประกอบด้วย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองมีความตระหนักพาเด็กมารับบริการและเด็ก 0-5 ปี มีสุขภาพดี 2.เด็กได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 3.ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้เด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย 4.เด็ก 0-5 ปีปราศจากฟันผุ 5.เด็ก 0-5 ปีมีโภชนาการตามเกณฑ์และพัฒนาการเด็กสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 11:13 น.