กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยทางน้ำในเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 61-L5205-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 54,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภูวนาถ รัญเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจะพบข่าวเกี่ยวกับปัญหาเด็กจมน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปี พ.ศ.2555 การเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีทั่วโลกเสียชีวิตปีละ 135,585 คน ส่วนสถิติในประเทศไทยเด็กในช่วงอายุดังกล่าวเสียชีวิตปีละ 1,500 คน เฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตทุกสาเหตุ สำหรับช่วงเวลาที่เด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุดจะเป็นเดือนเมษายน โดยมีสถิติสูงถึง จำนวน 182 คน รองลงมาจะเป็นเดือนมีนาคม จำนวน 148 คน และเดือนพฤษภาคม จำนวน 141 คน เด็กที่มีความเสี่ยงมากที่สุด คือระหว่างอายุ 1-9 ปี โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการทรงตัวไม่ดี ทำให้ล้มในท่าที่ศีรษะทิ่มลงได้ง่าย จึงมักพบเด็กจมน้ำสูงตามแหล่งน้ำภายในบ้านหรือบริเวณรอบๆบ้าน อีกอย่าง คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่มีรั้วรอบแหล่งน้ำ เพื่อแบ่งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำ การจัดพื้นที่เล่นที่ไม่เหมาะสมให้แก่เด็ก รวมถึงการที่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และเด็กไม่มีความรู้ในการกู้ชีพหรือใช้วิธีปฐมพยาบาลแบบผิดวิธี เป็นต้นจากเหตุดังกล่าวหากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการตายจากการจมน้ำของเด็ก จำเป็นต้องฝึกหัดให้เด็กว่ายน้ำเป็นและเรียนรู้วิธีช่วยชีวิตคนจมน้ำโดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ ดังนั้น กิจกรรมการว่ายน้ำ ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากมาย อาทิ ช่วยบริหารร่างกายของเด็กปฐมวัยได้ทุกส่วน ช่วยให้เด็กปฐมวัยสูดออกซิเจนเข้าปอดได้อย่างเต็มที่และยังช่วยฝึกความแข็งแรงของระบบการหายใจ นอกจากนี้การว่ายน้ำยังมีประโยชน์ทางด้านกายภาพ คือ สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายจากความตึงเครียด เสริมสร้างให้เด็กรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แข็งแรง และที่สำคัญยังช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดหากตกน้ำหรือจมน้ำ การพัฒนาทักษะการว่ายน้ำยังช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ส่วนด้านความรู้สึกและอารมณ์ การเรียนว่ายน้ำจะช่วยเกิดการกระตุ้นการรับรู้และการสัมผัสตลอดเวลา ส่งผลให้เด็กมีอารมณ์ดี สดใสร่าเริง ไม่งอแง และมีสมาธิพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆอีกทั้งช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านสมองในการสร้างกิ่งสมองสำหรับการเรียนรู้และจดจำ อีกทั้งด้านสติปัญญา ช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถรับฟังและปฏิบัติตามคำสั่งได้
เด็กเล็กขณะอยู่ในน้ำจะมีการเคลื่อนที่ของร่างกาย สมองจะตื่นตัวตลอดเวลา มีผลทำให้สมองได้รับการพัฒนาเร็วกว่าเด็กเล็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนว่ายน้ำถึง 2 เดือนในปีแรก ช่วยให้เด็กปฐมวัยเจริญอาหาร นอนหลับพักผ่อนสนิท เป็นการกระตุ้นฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ให้เด็กมีความแข็งแรง สมบูรณ์สมวัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการฝึกทักษะการว่ายน้ำอย่างถูกวิธีจะไม่กลัวน้ำ และมีพื้นฐานการว่ายน้ำที่ดี และเสริมสร้างจินตนาการ ดังนั้น การฝึกให้เด็ก คุ้นชินกับการอยู่ในน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้เด็กรู้สึกสนุก ผ่อนคลาย เกิดการจดจำทักษะการว่ายน้ำที่สำคัญทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ 1. ทักษะการกลั้นหายใจในน้ำ 2. ทักษะการลอยตัวในน้ำ 3. ทักษะการเคลื่อนที่ในน้ำอย่างถูกต้อง และ 4. ทักษะการเอาตัวรอดในน้ำ ทักษะเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้เด็กสามารถเอาตัวรอด และช่วยเหลือผู้อื่นได้ เป็นทักษะที่ติดตัวไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างจินตนาการ เช่น คิดว่าตัวเองเป็นปลา เป็นซูเปอร์ฮีโร่ อยู่ในอีกโลกหนึ่ง นอกจากนี้เป็นการช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวการเรียนว่ายน้ำตั้งแต่ยังเล็กนั้น จำเป็นต้องอาศัยคุณพ่อคุณแม่ที่เป็นส่วนสำคัญในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถอยู่ในน้ำได้เพียงลำพัง คุณพ่อคุณแม่จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล คอยพยุง ประคอง ให้กำลังใจ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ให้เด็กไม่กลัวน้ำ และการสัมผัสจะช่วยลดความกลัวของทารกและเด็กเล็กลงได้ ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แนบแน่นขึ้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการฝึกหัดให้เด็กปฐมวัยว่ายน้ำเป็นและเอาตัวรอดจากการเสียชีวิตเมื่อพลัดตกน้ำ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยทางน้ำในเด็กปฐมวัย ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มทักษะการเอาตัวรอดจากการจมน้ำแก่เด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)

จำนวนเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) เสียชีวิตจากการจมน้ำ (คน)

20.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 54,000.00 1 48,600.00
24 ก.พ. 61 ให้ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการว่ายน้ำก่อนการปฏิบัติจริง 0 0.00 -
3 มี.ค. 61 - 1 ก.ย. 61 ฝึกหัดทักษะการว่ายน้ำตามขั้นตอน 0 54,000.00 48,600.00
  1. จัดทำโครงการ เสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง
  2. ติดต่อประสานงาน จัดหาวิทยากรและสถานที่ฝึกหัดว่ายน้ำ
  3. ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง เพื่อแสดงความจำนงยินยอมให้เด็กเข้าร่วมโครงการ
  4. จัดทำทะเบียนรายชื่อนักเรียนที่เข้ารับการฝึกสอนว่ายน้ำ
  5. ดำเนินการตามโครงการ
  6. ประเมินผล สรุปผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรงด้วยทักษะการว่ายน้ำ
  2. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาที่เหมาะสมตามวัย
  3. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถนำทักษะการว่ายน้ำไปช่วยเหลือผู้อื่นเบื้องต้นไม่ให้จมน้ำ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2561 14:55 น.