กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเฝ้าระวังด้านอาหารและการออกกำลังกาย
รหัสโครงการ 61-L3366-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 14,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิรภัทร์ เชาวมาลี นายแพทย์ปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีบรรพต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.701,99.833place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2561 31 ส.ค. 2561 14,700.00
รวมงบประมาณ 14,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนไทย ต้องเร่งรีบในการทำกิจวัตรประจำวันซึ่งมีส่วนทำให้lifestyleในการบริโภคอาหาร ต้องใช้บริการอาหารจานด่วน จานเดียว หรือฟาสฟูดส์ ที่ง่ายและรวดเร็ว สะดวกต่อการบริโภคและขาดการออกกำลังกาย ซึ่งรูปแบบการใช้ชีวิตที่เร่งรีบนั้น สามารถนำมาสู่โรคอ้วน และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคข้อ จากการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด ติดอันดับ 1 ใน 3 สาเหตุหลักของการป่วยและตายของ คนไทย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น 3-17 เท่าตัว ที่สำคัญคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอายุเฉลี่ยน้อยลงกว่าในอดีต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการควบคู่กับการออกกำลังกายให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย
จากการคัดกรองโรคเมตาบอลิกของประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลศรีบรรพต ในปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๐พบว่า ประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๗๑ , ๕๖.๘๐ , ๕๙.๑๐อยู่ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๓๑ , ๗.๘๐ , ๙.๔๖ ประชากรที่มีภาวะเบาหวาน อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง คิดเป็นร้อยละ ๒๖.๖๕ , ๒๖.๑๘ , ๓๐.๑๐อยู่ในกลุ่มกลุ่มสงสัยเป็นโรค คิดเป็นร้อยละ ๑.๘๔ , ๑.๕๘ ,๒.๑๖ และมีภาวะดัชนีมวลกายเกิน คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๗๙ , ๔๙.๘๔ , ๔๘.๑๗ จะเห็นได้ว่า ประชาชนในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลศรีบรรพต มีภาวะสุขภาพที่ผิดปกติและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลและติดตามกลุ่มเสี่ยงได้ทั้งหมด จึงต้องมีแกนนำเฝ้าระวังด้านอาหารและการออกกำลังกายเพื่อช่วยเหลือในการดูแลกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุม
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกับ อสม.บ้านเหรียงงามและบ้านในวัง จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเฝ้าระวังด้านอาหารและการออกกำลังกายเพื่อสร้างแกนนำในการดูแลและติดตามกลุ่มเสี่ยง ชุมชนเกิดเครือข่ายเฝ้าระวังสุขภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมา ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำเฝ้าระวังด้านอาหารและการออกกำลังกายเพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้ไป ถ่ายทอดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านของตนเองได้

แกนนำมีความรู้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 ชุมชนเกิดเครือข่ายเฝ้าระวังสุขภาพ

มีเครือข่ายเฝ้าระวังสุขภาพในหมู่บ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 พัฒนานโยบายด้านการจัดการและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยเน้น กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก 0 2,700.00 -
1 ม.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพชุมชนที่ถูกต้องและเหมาะสม ให้กับแกนนำและสนับสนุนให้แกนนำพัฒนาเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ จัดการความอ้วนของประชาชนในพื้นที่ 0 12,300.00 -
  1. ขั้นก่อนดำเนินการ
  2. ชี้แจงโครงการแก่ ประชาชน อสม. และแกนนำหมู่บ้านในการประชุมของหมู่บ้าน
  3. นำเสนอแผนงานโครงการ
  4. เขียนโครงการขออนุมัติตามหลักการ
  5. ขั้นตอนดำเนินการ 2.1 ประชุมสะท้อนข้อมูลสุขภาพชุมชน สาเหตุของปัญหาสุขภาพ และรณรงค์ปรับทัศนะ สร้างความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน 2.2 ค้นหาต้นทุนด้านการดูแลสุขภาพ 2.3 รวมกลุ่มเครือข่ายหลักที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ 2.4 พัฒนานโยบายด้านการจัดการและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก 2.5 รับสมัครแกนนำครอบครัวสร้างเสริมสุขภาพ ๓๐ ครอบครัว 2.6 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพชุมชนที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับแกนนำและสนับสนุนให้แกนนำพัฒนาเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ จัดการความอ้วนของประชาชนในพื้นที่
  6. ขั้นประเมินผล
    3.1 ประเมินผลความรู้โดยเปรียบก่อนและหลังการอบรม 3.2 ประเมินความพึงพอใจการอบรม เพื่อประเมินความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้เข้าอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำเฝ้าระวังด้านอาหารและการออกกำลังกาย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านของตนเองได้
  2. ชุมชนเกิดเครือข่ายเฝ้าระวังสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2561 18:52 น.