โครงการเตรียมตัวอย่างไร เมื่อใกล้วัยชรา
ชื่อโครงการ | โครงการเตรียมตัวอย่างไร เมื่อใกล้วัยชรา |
รหัสโครงการ | 60-L3020-01-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 |
วันที่อนุมัติ | 31 พฤษภาคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 31,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางมัสนาหะมะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | มัสยิดบ้านคูระ หมู่ที่ 2 และมัสยิดดาเราะห์มาเซ็ง หมู่ที่ 2 บ้านคูระ |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.677,101.266place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นโยบายรัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมแก่สังคม เพราะวัยกลางคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของระบบเศรษฐกิจอันสืบเนื่องมาจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีทางแพทย์และการบริการที่เจริญก้าวหน้าและพฤติกรรมบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น รวมทั้งการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักวิธีการดูแลสุขภาพ โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จากแนวโน้มของวัยกลางคนที่เพิ่มขึ้น นำมาซึ่งภาวะเสี่ยงและปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจ็บป่วยเรื้อรัง จากการศึกษาพบว่าวัยกลางคนมีอุบัติการณ์การเกิดโรคมากกว่าวัยอื่น 4 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าวัยกลางคนอายุ 55 ถึง 59 ปี จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิตของประชาชนวัยกลางคน ประกอบกับสถานการณ์ด้านสุขภาพของวัยกลางคนที่ผ่านมา พบว่า วัยกลางคนส่วนใหญ่แข็งแรงประกอบอาชีพได้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านคูระ จึงได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อมของผู้ที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเพือ่ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.วัยกลางคนช่วงอายุตั้งแต่ 55 ถึง 59 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัยชราและการเตรียมเข้าสู่วัยชรา
|
||
2 | 2.วัยกลางคนช่วงอายุตั้งแต่ 55 ถึง 59 ปี มีทัศนคติที่ดีและมีความพร้อมในการเข้าสู่วัยชรา
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้ทราบถึงโครงการ และชี้แจงแกนนำ ปรึกษาและวางรูปแบบกิจกรรม 2.ประเมินภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ 3.บรรยายให้ความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนถึงวัยผู้สูงอายุ 4.บรรยายให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุแก่สมาชิกในครอบครัววัยกลางคน 5.ทำกิจกรรมสนทนากลุ่มเฉพาะแยกตามเพศและความเสี่ยง 6.ให้สุขศึกษารายบุคคล กรณีที่มีปัญหาเฉพาะเรือง 7.การประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 8.ประเมินสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการเปรียบเทียบก่อนและหลังร่วมกิจกรรม
1.ข้อมูลพื้นฐานภาวะสุขภาพของวัยกลางคน 2.วัยกลางคนและสมาชิกในครอบครัวมีความรู้ ทัศนคติและความพร้อมที่เหมาะสม 3.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากความเสี่ยงตามวัย 4.เกิดความร่วมมือที่ดีระหว่างองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภายนอกภาครัฐและเอกชน เช่น สถานบริการสาธารณสุข เป็นต้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2560 15:57 น.