กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ ชุมชนน่าอยู่ ลด ละ เลิก การใช้ โฟมบรรจุอาหาร
รหัสโครงการ 61-L5221-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 34,236.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาคร บุญนำ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 30 มิ.ย. 2561 13,736.00
2 1 มิ.ย. 2561 30 มิ.ย. 2561 12,000.00
3 1 มิ.ย. 2561 31 ส.ค. 2561 8,500.00
รวมงบประมาณ 34,236.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหาร โดยความหมายของคนโดยทั่วไป มักหมายถึง สิ่งที่นำมาบริโภคเพื่อความอยู่รอดของชีวิต โดยมีหน้าที่เสริมสร้างร่างกาย ให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ฉะนั้นความปลอดภัยของอาหารจากสารปนเปื้อนและสารพิษ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี แต่จุดที่มักถูกมองข้าม คือ การปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหารเอง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีของภาชนะบรรจุอาหาร มักไม่ได้รับความสนใจ หรือเพิกเฉย เนื่องจากมิได้เกิดในทันทีทันใด แต่หากจะค่อย ๆ สะสม จนเกิดอันตราย เป็นเวลากว่า ๕๐ ปีแล้ว ที่คนไทยนำพลาสติกและโฟม มาใช้แทนใบตอง กระดาษ โลหะหรือแก้ว ในการบรรจุอาหาร อาจเนื่องมาจาก พลาสติกและโฟม สามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงเป็นที่นิยมสืบต่อเรื่อยมา แต่จะมีผู้บริโภคสักกี่คนที่ตระหนักถึงอันตรายที่แฝงอยู่ในภาชนะบรรจุที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกล่องโฟมมักถูกนำมาบรรจุอาหารที่ทอดร้อน ๆ และมีน้ำมันขึ้นจากเตาใหม่ ๆ เช่น ข้าวผัด ข้าวกระเพาไข่ดาว ผัดไทย หอยทอด เป็นต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถละลายสารบางชนิดออกจากกล่องโฟม และปนเปื้อนสู่อาหารได้
เมื่อโฟมถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัดจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาจากภาชนะโฟม เช่น สารสไตรีน (styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต มีผลต่อประสาท ส่วนกลางและส่วนปลายที่ทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี รวมทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้จำนวนเม็ดเลือดลดลงและทำลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ในเขตพื้นที่ตำบลท่าบอนก็เช่นกัน พ่อค้าแม่ค้าอาหารตามสั่ง อาหารสำเร็จรูป มักนิยมใช้กล่องโฟม เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว โดยซึ่งผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารจำนวนมากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค เนื่องจากกล่องโฟมเมื่อสัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ภาชนะเสียรูปและอาจหลอมละลายจนมีสาร “สไตรีน” ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งออกมาปนเปื้อนกับอาหารที่บรรจุอยู่ได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของ สไตรีนจะมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่าง คือ ไขมันในอาหาร ระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายออกมาของสไตรีนมากกว่าอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบเมื่อผู้บริโภคไม่บริโภคอาหารที่ใช้โฟมเป็นภาชนะในการบรรจุอาหารแล้ว ผู้จำหน่ายอาหารก็จำเป็นที่จะต้องหาวัสดุอื่นมาบรรจุอาหารเพื่อจำหน่ายต่อไป ดังนั้น ชมรมส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าบอน จึงมีความจำเป็นที่จะจัดการอันตรายจากโฟมที่ใช้บรรจุอาหาร และเชิญชวนองค์กรต่างๆในตำบลท่าบอนให้เป็นหน่วยงานนำร่อง ในการเลิกใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และรณรงค์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร ให้ได้ในระดับที่น่าพอใจ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านอาหารปลอดภัยของรัฐ และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ในการลดความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการฯ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ผู้ประกอบอาหารและผู้บริโภคมีความรู้เรื่องอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 70

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ประกอบการด้านอาหารและผู้บริโภคลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร

ผู้ประกอบการร้านอาหาร เขตตำบลท่าบอน ลด ละ เลิก การใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร ร้อยละ 70

0.00
3 3 เพื่อให้โรงเรียน สถานที่ราชการ เป็นองค์กรต้นแบบ ลด ละ เลิกการใช้โฟมบรรจุอาหาร (NOFoam)

โรงเรียน สถานที่ราชการ มีนโยบายการประกาศเป็นสถานที่ปลอดโฟม(NOFoam)อย่างน้อย 1 แห่ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35.00 0 0.00
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ 0 15.00 -
จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เรื่องโทษของการใช้โฟมบรรจุอาหาร ติดสติ้กเกอร์ “Say No To Foam” ติดในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน สถานที่ราชการ 0 12.00 -
มอบป้ายโฟมบอร์ด “ร้านนี้ปลอดภัย ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร” 0 8.00 -
เชิญชวนโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการ องค์กรเอกชน ร่วมลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และให้เป็นองค์กรปลอดโฟมบรรจุอาหาร 100% โดยรับการประเมินและรับรองจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอระโนด 0 0.00 -
สรุปและประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมเอกสารสถานการณ์ใช้ภาชนะบรรจุอาหรร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารโรงเรียนสถานที่ราชการในเขตพื้นที่ หมู่ 3 ถึง หมู่ 10 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนดจังหวัดสงขลา
1.2เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน 1.3ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ส่วนราชการชุมชน โรงเรียน ร้านอาหาร/แผงลอย ตัวแทนผู้บริโภค 1.4ประชาสัมพันธ์โครงการ
ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการตามโครงการ 2.1 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้ 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้โฟมบรรจุอาหารและการเลือกใช้ภาชนะทดแทนโฟมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เช่น จาน กล่องใส่อาหารในร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ซึ่งทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือการเลือกใช้กล่องพลาสติกใสที่ไม่ใช่โฟม 2.3ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการหลังให้ความรู้ 2.4จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร / เรื่องโทษของการใช้โฟมบรรจุอาหาร 2.5ติดสติ้กเกอร์ “Say No To Foam” ในชุมชน หมู่บ้านโรงเรียน สถานที่ราชการ หมู่ที่ 3 ถึงหมู่ที่ 10 ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 2.6เชิญชวนร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหาร ร่วมลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร 2.7มอบป้ายโฟมบอร์ด “ร้านนี้ปลอดภัยไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร” แก่ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารที่เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร 2.8เชิญชวนโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสถานที่ราชการ องค์กรเอกชน ร่วมลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร และให้เป็นองค์กรปลอดโฟมบรรจุอาหาร 100%โดยรับการประเมินและรับรองจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอระโนด ขั้นตอนที่ 3สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 3.1ติดตามการดำเนินการปลอดโฟม ในร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียนสถานที่ราชการ ในเขตพื้นที่ หมู่ 3 ถึง หมู่ตำบลท่าบอน อำเภอระโนดจังหวัดสงขลา 1 ครั้ง หลังจากดำเนินกิจกรรม 3.2สรุปผลการดำเนินงานจำนวนร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหาร โรงเรียนสถานที่ราชการ ในเขตพื้นที่ หมู่ 3 ถึง หมู่ตำบลท่าบอน อำเภอระโนดจังหวัดสงขลา ที่ดำเนินการ ลด ละ เลิก การใช้โฟม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในตำบลท่าบอน ลด ละ เลิก การใช้โฟมบรรจุอาหาร
  2. ผู้ประกอบการค้าอาหารและผู้บริโภคมีความเข้าใจ ถึงอันตรายจากการใช้กล่องโฟมและสามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพทดแทนโฟม
  3. มีพื้นที่ต้นแบบปลอดโฟมในการบรรจุอาหาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2561 14:41 น.