กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขภาวะโภชนาการในเด็ก 0 - 36 เดือน
รหัสโครงการ 60-L8013-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชน โรงพยาบาลรือเสาะ
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนาริม โต๊ะกานี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.369,101.508place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 32 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการจากการขาดสารอาหารเป็นสิ่งที่พบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก 0-36 เดือนซึ่งสาเหตุที่เด็กขาดสารอาหารมีหลายสาเหตุด้วยกันเช่นการเลี้ยงดูบุตรความเชื่อในการบริโภคอาหารที่ผิดๆปัญหาทางด้านเศรษฐกิจเป็นต้นซึ่งปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพเด็กทำให้เด็กมีร่างกายอ่อนแอภูมิคุ้มกันโรคต่ำพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาจะช้าลงดั้งนั้นการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมากและจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อเด็กเหล่านี้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ได้รับอาหารที่มีคุณค่าจึงจำเป็นต้องให้มีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารและโภชนาการแก่ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กควรเริ่มตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดให้สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการเพื่อจะได้เป็นรากฐานของการพัฒนาเพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพสูงในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ดังนั้นทางศูนย์แพทย์ชุมชน ได้ตระหนักถึงปัญหาทุพโภชนาการ ที่อาจเกิดขึ้นในเด็ก0-36เดือนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขภาวะโภชนาการในเด็ก0-36เดือนขึ้นซึ่งในปี 2558 มีเด็กในเขตรับผิดชอบมีภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์จำนวน 22 คน และในปี 2559 มีเด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์จำนวน 32 คน เพิ่มขึ้นจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 69 ซึ่งในแต่ละปีไม่ควรมีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดภาวะขาดสารอาหารในเด็ก0-36 เดือน 2. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองเด็ก0-36 เดือนได้ตระหนักถึงปัญหาและโภชนาการที่เกิดขึ้น 3. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-36 เดือน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง 4. เพื่อลดอาการของโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดแก่เด็กจากการขาดสารอาหาร

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
19 ส.ค. 63 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง พร้อมการสาะิตการทำอาหาร 64 41,000.00 37,900.00
รวม 64 41,000.00 1 37,900.00
  1. ประชุมปรึกษาทีมงานเพื่อร่วมกำหนดรายละเอียดของกิจกรรม
  2. เขียนโครงการเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  3. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการ
  4. จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ในการให้โภชนาศึกษา
  5. จัดทำแผนที่เขตรับผิดชอบของอสม. และรายชื่อเด็กขาดสารอาหารให้ชัดเจน
  6. สาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็ก 0-36 เดือน
  7. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-36 เดือนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์1 ครั้ง
  8. เชิญผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมาปรึกษาหารือถึงปัญหาและให้คำปรึกษาในเรื่องการดูแลบุตรอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งตรวจสุขภาพเด็กและตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ
  9. จ่ายอาหารเสริมและยาเสริมธาตุเหล็ก โดยแกนนำโภชนาการแก่เด็กขาดสารอาหารในเขตรับผิดชอบของตนเอง พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองเด็ก
  10. ติดตามและประเมินผลภาวะโภชนาการเป็นระยะๆ
  11. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาวะโภชนาการในกลุ่มเป้าหมายลดลง
  2. เด็กได้รับคุณค่าอาหารที่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
  3. ผู้ปกครองเด็ก0-36 เดือนมีความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องและ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี
  4. เด็กมีพัฒนาการเจริญเติบโตตามวัยและไม่มีโรคแทรกซ้อนจากการขาดสารอาหาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2560 12:56 น.