กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ บ้าน โรงเรียน ชุมชน ปลอดลูกน้ำยุงลาย หมู่ที่ 8 บ้านไสนายขัน ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 6/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 8 ตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรม อสม. หมู่ที่ 8 ตำบลควนขนุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 268 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข และเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น ในอดีตที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 - 75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 5 -14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นการบากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดกาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุด คือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด สถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกตั้งแต่ต้นปี เดือนมกราคม - พฤศจิกายน พ.ศ.2559 พบผู้ป่วย 5 ราย ซึ่งเกิดขึ้นติดต่อกัน ทั้งที่มีการควบคุมโรคแล้ว แต่ยังมีผู้ป่วยเพื่มขึ้น คิดเป็นอัตราป่วย 488.76 ต่อแสนประชากร จากจำนวนผู้ป่วยในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน พบผู้ป่วยทั้งหมด 10 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 260.08 ต่อแสนประชากร การป้องกันก่อนถึงฤดูกาลระบาด ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม และในทุกพื้นที่ช่วยกันลดจำนวนยุงลายให้เหลือน้อยที่สุด โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่มักอาศัยในภาชนะที่มีน้ำท่วมขัง และหากมีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกให้ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด และพ่นสารเคมีรอบบ้านผู้ป่วยรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร เพื่อตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรค ในการนี้ อสม. หมู่ที่ 8 ตำบลควนขนุน จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

2 2.เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

3 3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก 1.1จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่แกนนำครอบครัว 1.2จัดอบรม อสม.น้อย แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 1.3ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำ 2.สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 2.1ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วไป 2.2ให้สุขศึกษา โดยการแจกแผ่นพับโรคไข้เลือดออก และทรายกำจัดลูกน้ำ 2.3รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกวันศุกร์ โดยอสม.และอสม.น้อยและสำรวจบ้านทุกหมู่บ้านทุกครัวเรือน โดย อสม. ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการจัดอบรม 3.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้ในการอบรมและการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 4.จัดเตรยมความพร้อมด้านสถานที่สำหรับการอบรม ขั้นดำเนินการโครงการ 1.จัดประชุมและอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ นักเรียน และ แกนนำครอบครัว 2.สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในเขตพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน โดย อสมฬ เพื่อหาค่า HI 3.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ในโรงเรียนและชุมชนทุกวันศุกร์ 4.สำรวจบ้านนักเรียนโดยนักเรียน "บ้านนี้สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย" 5.สำรวจบ้านโดย อสม. "บ้านนี้สะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย" การประเมินผล 1.เป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม 2.การทำกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย สม่ำเสมอทุกศุกร์ของโรงเรียนและในชุมชน 3.ครัวเรือนได้รับทรายกำจัดลูกน้ำยุงลายร้อยละ 80 ของครัวเรือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 2.ให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3.ลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2017 09:10 น.