กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไสกล้วยร่วมใจใส่ใจสุขภาพ หมู่ที่ 7
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอสม หมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.818,99.948place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74 โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราตายต่อแสนประชากรดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04 โรคความดันโลหิตสูง3.64 และโรคหัวใจและหลอดเลือด55.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2550) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น และผลจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2550 พบว่าคนไทยเพียง 5 ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้นจากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า15ปีโดยการตรวจร่างกายครั้งที่3ของภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน๕ณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บจากประชากรกลุ่มศึกษา อายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 39,290คน พบว่ากลุ่มศึกษามีความถี่เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้เท่ากับ 5.97และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรไทยส่วนมากบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย3-5วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ได้ร้อยละ20-30และโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้อย่างมาก ดังนั้น อสม.หมู่ที่ 7 บ้านไสกล้วย ตำบลบ้านพร้าว จึงได้จัดทำโครงการไสกล้วยร่วมใจใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้ประชาชนมีการกินผักและผลไม้สด อย่างน้อยวันละ ครึ่งกิโลกรัมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 2เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 วัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20

ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ ประชาชนที่เข้าโครงการสามารถดูสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ฯ
    2. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเชิญชวนให้ประชาชน มาร่วมโครงการ ฯ ๔.คัดกรองสุขภาพ(ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/สารเคมีตกค้างในเลือด)ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ๕. สรุปผลการคัดกรองแยกเป็นประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วย ๖.ชักชวนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยจำนวน 50 คนเข้าร่วมโครงการ ฯ ๗.จัดกิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพและปลูกผักปลอดสารพิษ ๘. ประกวดบ้านตัวอย่าง ๙. ตรวจสุขภาพหลังเข้าร่วมโครงการ ๑๐.รายงานผลโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1ประชาชนพฤติกรรมการกินผัก และผลไม้สด ครึ่งกิโลกรัมต่อคนต่อวัน เพิ่มขึ้น 2ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 วัน เพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2017 11:21 น.