กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนโคกสะบ้าห่างไกลยาเสพติด
รหัสโครงการ L1473-61-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 37,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพัตรา ชุมแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ วลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ม.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 37,050.00
รวมงบประมาณ 37,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กและเยาวชนรู้จักวิธีป้องกันการติดยาเสพติด
55.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ยาเสพติด"ปัญหาสำคัญระดับชาติที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะปัญหายาเสพติดที่มีการกแพร่ระบาดในพื้นที่ของประเทศไทยได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ
ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา สภาพปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในอดีตอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่ "เฮโรอีน" เป็นปัญหาสำคัญที่ตำรวจต้องเร่งปราบปรามให้สิ้นซาก กลายเป็น "ยาบ้า" หรือสารเมทแอมเฟตามีน ที่กำลังระบาดตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม และประเทศ จากข้อมูลสำรวจพบว่าเยาวชนจำนวนมากกว่า 6 แสนคนหลงเข้าสู่วังวนของ ยาบ้า และจากสถิตินักโทษเด็ดขาดของกรมราชทัณฑ์ที่ถูกจับคุมอยู่ตาม สำรวจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 137,344 คน ในจำนวนนี้เป็นนักโทษคดียาเสพติดเกินกว่าครึ่ง คือประมาณ 87,966 คน คิดเป็นร้อยละ 64.05 และในจำนวนนักโทษเด็ดขาด คดียาเสพติดเหล่านี้มีจำนวนมากถึง 27,499 คน คิดเป็นร้อยละ 31.26 ของนักโทษคดียาเสพติดที่ต้องโทษในคดีเสพหรือครอบครอง การรณรงค์ให้เยาวชนมีความรู้และมีทักษะชีวิต เป็นแนวทางที่สำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สถานีอนามัยตำบลโคกสะบ้าจึงได้จัดทำโครงการเยาวชนตำบลโคกสะบ้าห่างไกลยาเสพติดเพื่อให้รณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในตำบลโคกสะบ้าให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยขอความร่วมมือและรวมพลังจากภาครัฐและเอกชน กระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าการที่จะเอาชยะปัญหายาเสพติดมิใช่หน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรหนึ่ง แต่ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันเป็นพลังของแผ่นดินที่จพต่อสู้และเอาชนะปัญหา ยาเสพติดให้ได้โดยเร็ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเยาวชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

เยาวชนรู้จักการป้องกันและเลี่ยงเลี่ยงการเข้ายุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด

1.00
2 เพื่อปลุกจิตสำนึกเยาวชนและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

เยาวชนรู้จักสร้างจิตสำนึกให้กับรุ่นน้องและคนรอบข้างในการป้องกันปัญหายาเสพติด

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการ 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ประชุมชี้แจงโครงการกับอสม. เพื่อหากลุ่มเป้าหมาย 4.จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนเยาวชน จำนวน 44 คน ประธาน อสม. จำนวน 11 คน จำนวน 3 วัน 5.ติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโดย อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยตำบลโคกสะบ้า 6.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เยาวชนตำบลโคกสะบ้ามีทักษะชีวิตและเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2 เยาวชนตำบลโคกสะบ้ามีสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2561 09:09 น.