กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอนประจำปี 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สุขาภิบาลอนามัยและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทรงสิริมะลีวัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเทศบาลเมืองปัตตานี มีเขตพื้นที่ต้องรับผิดชอบ 3 ตำบล คือ (1). ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (2). ตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี (3).ตำบลสะบารังอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งในเทศกาลเดือนรอมฎอนเป็นเดือนสำคัญสำหรับคนมุสลิม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือนมุสลิมจะต้องอดอาหารทุกชนิด รวมทั้งน้ำดื่มในช่วงเวลา พระอาทิตย์ขึ้น – พระอาทิตย์ตกดิน ด้วยเหตุนี้ชาวมุสลิมต่างถือปฏิบัติการประกอบศาสนกิจในเดือนนี้อย่างเคร่งครัด และเริ่มบริโภคอาหารหลังพระอาทิตย์ตกดินเป็นต้นไป จึงต้องมีการจับจ่ายซื้ออาหารเพื่อกักตุนไว้รับประทานจำนวนมาก
จากการดำเนินงานปีที่แล้ว ในเขตพื้นที่รับผิดชอบบริเวณถนนปากน้ำถนนเจริญประดิษฐิ์ตำบลสะบารัง
และบริเวณชุมชนวอกะห์เจะหะ ถนนยะรัง ตำบลจะบังติกอ พบผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารช่วงเดือนรอมฏอนประมาณ 200 ราย ในแต่ละปีผู้ประกอบการรายใหม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้ประกอบการบางคนยังขาดความตระหนักด้านสุขาภิบาลอาหารตามมาตรฐานของกรมอนามัยกำหนด และยังใช้โฟมบรรจุอาหาร นอกจากนี้พบว่าผู้บริโภคได้มีการร้องเรียนเรื่องความสะอาด คุณภาพอาหารและโฟมบรรจุอาหารที่ไม่ปลอดภัยด้วยสภาพสังคมปัจจุบันที่ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย กลายเป็นสิ่งที่ผู้คนถวิลหา ไม่เว้นกระทั่งเรื่องการกินที่จังหวะชีวิตของใครหลายคนทุกวันนี้ ไม่เปิดโอกาสให้มีทางเลือกมากนัก การจะหาของกินดีๆ “ปลอดภัยไร้สาร” เป็นเรื่องยาก เพราะเดี๋ยวนี้เน้น “อิ่ม-เร็ว-ถูก” ส่งผลให้อาหารจำพวก “แกงถุง ข้าวกล่อง” กลายเป็นพระเอกในชีวิตประจำวันที่ผู้คน “ยุคสังคมก้มหน้า” จำใจยอมรับ และชินอยู่กับมัน ทั้งๆที่บางคนก็รู้ว่าการแกล้งปิดตาข้างหนึ่งก่อนกลืนข้าวลงคอนำมาซึ่ง “ภัยเงียบ” โฟมเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ผลิตจากพลาสติกประเภทโพลีสไตรีน(Polystyrene: PS) ถ้าถูกนำไปใช้บรรจุอาหารที่ร้อนจัด และอาหารทอดที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ จะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้สารอันตรายแตกตัวออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ได้แก่ สารเบนซีน(Benzene) ที่หากดื่ม หรือกินอาหารที่มีสารเบนซีนปนเปื้อนสูงจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ที่เป็นอันตรายที่สุด คือ“สารสไตรีน”(Styrene) ที่มีพิษทำลายไขกระดูก ตับ และไต ทำให้ความจำเสื่อม มีผลต่อการเต้นของหัวใจ และเป็นสารก่อ “มะเร็ง” โดยอาจก่อให้เกิดมะเร็งเส้นเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ (ข้อมูลจาก“กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์”)


ส่วนความเสี่ยงที่จะเกิดการปนเปื้อนพิษภัยทางอาหารทั้งด้านจุลินทรีย์และสารปนเปื้อนต่างๆที่เติมลงไปในอาหาร เช่น สี กลิ่น รส เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภค และยังเกิดการปนเปื้อนจากแผงลอยจำหน่ายสินค้าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสถานที่จำหน่าย และสะสมอาหารที่มีขั้นตอน การปรุง การประกอบอาหาร การวาง หรือเก็บเพื่อจำหน่าย ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ เป็นการประกอบอาหารที่ให้บริการแก่ประชาชน หากเกิดความสกปรก หรือปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ หรือสารเคมีที่เป็นพิษ อันเนื่องมาจากความสกปรกของตัวอาหารดิบ หรือสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปรุงและผู้ช่วยปรุงไม่ถูกต้อง ความสกปรกของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้ รวมทั้งอาจเกิดจากความสกปรกของสถานที่ ซึ่งเมื่อประชาชนรับประทานอาหารนั้นเข้าไป ย่อมก่อให้เกิดการเจ็บป่วย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพในทันที กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี มีความตระหนักถึงความปลอดภัย ในการบริโภคอาหารของประชาชนในช่วงเดือนรอมฎอน และป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ จากการบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อน ดังนั้นจึงเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้น จึงจัดทำโครงการการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร เป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อนและสะอาดปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริโภคอาการที่ สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ

แผงจำหน่ายอาหาร ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ ร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความรู้ สามารถนำไปปฏิบัติได้

ผู้ประกอบการ สามารถนำไปปฏิบัติ ร้อยละ 70

0.00
3 สารปนเปื้อนในอาหารผู้บริโภคลดลง

สารปนเปื้อนลดลงร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 1 30,000.00
1 พ.ค. 61 เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริการอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ 0 30,000.00 30,000.00

1.สำรวจข้อมูลรายชื่อผู้ประกอบการที่จำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน 2.ประชาสัมพันธ์โครงการและจัดทำโครงการ 3.ประสานกับ รพสต ในพื้นที่ให้ตรวจสถานที่ปรุงพร้อมอบรมผู้ประกอบการที่จำหน่ายอาหารในเขตเทศบาล 4.จัดอบรมให้ผู้จำหน่ายอาหารในเขต ต.จะบังติกอ ต.สะบารัง(ปากน้ำ) 5.ตรวจสถานที่ปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร 6.ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แผงจำหน่ายอาหาร ถูกสุขลักษณะได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ของอนามัย 2.ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ไปปฏบัติใช้ในการประกอบอาชีพที่ถูกสุขลักษณะด้านสุขาภิบาล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2561 13:50 น.