กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ เกิดความตระหนักในการจำหน่ายและบริการอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะอนามัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ 1 พ.ค. 2561 1 ม.ค. 2561

 

1 สำรวจข้อมูลด้านต่างๆภายในเขตรับผิดชอบเช่น ข้อมูลผู้ประกอบการ  สุขลักษณะฯลฯ 5.2 ประชาสัมพันธ์โครงการและจัดทำโครงการและกิจกรรมต่างๆ
5.3 จัดอบรมให้ผู้ประกอบการ 5.4 ตรวจสถานที่ปรุงและจำหน่ายอาหาร 5.5 ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

 

ผลการดำเนินงาน 1.1 สรุปผลการประเมินทางชีวภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมินตามตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร ดังนี้ - สรุปผลการประเมินทางกายภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมิน (สถานที่ประกอบอาหาร/ที่บ้าน) จากการประเมินสถานประกอบอาหารทางด้านกายภาพ ร้านที่ผ่านการประเมินจำนวน 4 ร้าน ร้อยละ 30.8 ส่วนร้านที่ไม่ผ่านการประเมินจำนวน 9 ร้าน ร้อยละ 69.2 สภาพปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ สถานที่เตรียมและปรุงอาหารมีโต๊ะไม่เป็นระเบียบ มีการเตรียมและวางบนพื้น ไม่แยกประเภทอาหารเป็นสัดส่วน

สรุปผลการประเมินทางกายภาพ โดยใช้แบบสรุปผลตรวจประเมิน (แผงจำหน่ายอาหาร) จากการประเมินแผงจำหน่ายอาหารทางด้านกายภาพ แผงที่ผ่านการประเมินจำนวน 65 ร้าน ร้อยละ 64.35 ส่วนร้านที่ไม่ผ่านการประเมินจำนวน 36 ร้าน ร้อยละ 35.64 สภาพปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ แผงลอยไม่ทนทาน อุปกรณ์ใส่อาหารในภาชนะที่ไม่ได้มาตรฐานและใส่โฟมบรรจุอาหาร

1.2.สรุปผลการประเมินทางชีวภาพ โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) ดังนี้ - สรุปผลสุ่มประเมินทางชีวภาพ (แผงจำหน่ายอาหาร/ที่ร้าน) โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2)

- สรุปผลสุ่มประเมินทางชีวภาพ (แผงจำหน่ายอาหาร) โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2)

จากการเก็บตัวอย่าง โดยใช้น้ำยาทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น(SI-2) ตัวอย่างที่พบสารปนเปื้อน จำนวน 110 ตัวอย่าง ร้อยละ 39.3 ส่วนตัวอย่างที่ไม่พบสารปนเปื้อนจำนวน 170 ตัวอย่าง ร้อยละ 60.7 จากการทดสอบความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม พบว่า คะแนนความรู้หลัง การเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม โดยหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 13.35 ร้อยละ 89  ก่อนเข้ารับการอบรม    มีคะแนนเฉลี่ย 7.5 ร้อยละ 49 แสดงว่าการอบรมครั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้มากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง ของคะแนนก่อนและหลักการอบรม ปรากฏว่า คะแนนหลังการอบรม มีค่า คะแนนสูงกว่าก่อนการอบรม 2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ • บรรลุตามวัตถุประสงค์ ปัญหา/อุปสรรค
จากการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัยเดือนรอมฏอน มีปัญหา/อุปสรรคดังนี้ 1. เรื่องการประชาสัมพันธ์ การเข้าร่วมการอบรม เนื่องจากผู้ประกอบการที่จำหน่ายเดือนรอมฏอนอยู่กระจัดกระจาย ทำให้อยากต่อการเชิญเข้ามาอบรม ซึ่งแต่ละปีผู้ประกอบการจะเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนผู้ประกอบการ อยู่เสมอ ซึ่งต้องเลื่อนการอบรม


แนวทางแก้ไข 1. ต้องมีการประสานกับผู้ดูแลจัดระเบียบผู้ประกอบการในแต่ละตำบล ให้ผู้ประกอบการมาอบรมก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะมาจำหน่าย หากไม่มาอบรมเราจะไม่ให้จำหน่าย เนื่องจากทุกปีที่ได้มีการซุ่มตรวจพบว่าผู้ประกอบการไม่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร