กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และจัดทำแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สปสชเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.818,99.948place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคมโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชนร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพโดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชนนอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้วยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพและส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ได้จัดตั้งเมื่อปีงบประมาณ 2551 ตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งได้กำหนดให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนฯ และให้มีสิทธิ์เข้าถึงบริการ การตรวจสอบและรับรองคุณภาพบริการ ซึ่งนอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมแล้ว ยังสนับสนุนการให้ประชาชนได้มีบทบาทพึ่งตนเองด้านสุขภาพส่งเสริมให้บุคลากรตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้าร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพให้ลุล่วง ซึ่งในทุกๆปีจะต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานสำหรับการวางแผน โดยใช้เครื่องชี้วัด โดยชุมชน หรือองค์กรในแง่มุมต่างๆ เพื่อสื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียและบุคลากรได้ทราบและสามารถดูความสำเร็จด้วยการวัดผลการปฏิบัติในปีที่ผ่านมา เพื่อตัดสินใจที่ถูกต้องในด้านปรับการทำงาน เพื่อนำไปสู่การตั้งงบประมาณในแผนปฏิบัติงานโครงการ/กิจกรรมและเพื่อช่วยให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าวนั้นขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบและเกิดผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลการทบทวนความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานจากหนังสือสั่งการหรือระเบียบใหม่ๆตลอดถึงการคืนข้อมูลจากผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ผ่านมาเพื่อมาปรับปรุงปัญหาและแก้ไขเพื่อนำไปสู่จัดทำแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2561จากการดำเนินงานกองทุนฯที่ผ่านมา ปัญหาที่พบมากที่สุด คือการการวางแผนงานไม่ตรงกับปัญหาของชุมชนหรือความต้องการของประชาชนการจัดทำแผนทำโดยเน้นให้เกิดจากประชาชนในพื้นที่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทำให้แผนงานโครงการ/กิจกรรมที่ได้สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนทำให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่ตลอดจนเกิดความมีส่วนร่วมและนำไปสู่ความยั่งยืนและการมีระบบที่มั่นคงและมีเสถียรภาพของกองทุนฯทำให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายสูงสุด กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าวได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และจัดทำแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านพร้าว ประจำปีงบประมาณ 2561เพื่อเป็นการวางแผนนำกองทุนไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคตเป็นกรอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของกองทุนให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาข้อมูลในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การวางแผนงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาชุมชนทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้ทุกภาคส่วนทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการดำเนินกิจกรรมของกองทุนฯ เพื่อให้การขับเคลื่อนงานกองทุนเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีระบบ 3. เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่อง พรบ. ระเบียบ ประกาศ ตามคู่มือการปฏิบัติงานที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 4. จุดประกายความคิดเพื่อนำไปสู่การสร้างนวตกรรมใหม่ที่ช่วยให้การดำเนินงานในพื้นที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานคณะทำงานเพื่อดำเนินโครงการ
    1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อประธานกองทุนฯ
    2. จัดหาสถานที่/วิทยากร/ฯลฯ
    3. จัดกิจกรรมทบทวนความรู้
    4. ติดตามและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานโครงการ/กิจกรรมกองทุน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    1. สามารถสร้างแนวทางในการขับเคลื่อนงานกองทุนให้มีระบบมากขึ้น
    2. ทำให้คณะทำงานมีองค์ความรู้ที่จะสามารถนำมาใช้ในการดำเนินงานกองทุนฯมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2560 10:25 น.