กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บานจัดการสุขภาพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ตำบลโต๊ะเด็ง
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.โต๊ะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.116,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ในการดำเนินงานสร้างสุขภาพเป็นงานที่ทำได้ยาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการทำงานเพื่อหารายได้มาตอบสนองต่อความต้องการ สร้างให้เกิดความเครียด ครอบครัวแยกย้ายกันไปทำงาน ทำให้ขาดความอบอุ่นและไม่ใส่ใจในการดูแลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับเปลี่ยนกลวิธีต่างๆหลากหลายรูปแบบ เช่น งานสาธารณสุขมูลฐาน งานสุขภาพดีถ้วนหน้า การสร้างแกนนำครอบครัว ระบบสุขภาพภาคประชาชน เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพเป็นเรื่องของบุคคลที่ต้องใส่ใจ ตระหนักถึงการสร้างสุขภาพด้วยตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนด้วยกระบวนการต่างๆที่ชุมชนคิดขึ้นเองเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นนำทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า ดังนั้นการทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและใส่ใจในสุขภาพของตนเองควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตในประจำวันจะต้องมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อสอนให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องทำให้คนในชุมชนมีการใส่ใจในการสร้างสุขภาพอย่างแท้จริง ……ระบบการจัดการด้านสุขภาพ หมายถึง การที่ชุมชนมีกระบวนการร่วมกันคิด วิเคราะห์ถึงสภาพความเป็นอยู่และร่วมกันสร้างกิจกรรมการดำเนินงานด้านสุขภาพ หมู่บ้านที่จะมีระบบการจัดการสุขภาพที่สมบูรณ์และดำเนินไปสู่ความสำเร็จได้นั้นมีหลายๆปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การจะทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกและแสดงบทบาทในการดูแลตนเองและพัฒนาสุขภาพคนในครอบครัวและชุมชนได้นั้นสามารถทำได้ด้วยการสร้างกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมภายใต้การตัดสินใจและความต้องการของประชาชนและชุมชนตามศักยภาพของท้องถิ่นโดยประชาชนและชุมชนมีอำนาจเต็มที่คนในชุมชนรวมตัวกันร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันบริหารจัดการคน ทุนและความรู้ของชุมชนเพื่อให้เกิดโครงการของประชาชนโดยประชาชน เพื่อประชาชนในชุมชน ที่เน้นการพัฒนาคนในชุมชนให้เข้าใจปัญหาของตนและชุมชน คิดเป็น มีทักษะ วางแผนในการแก้ปัญหาเองได้มีอิสระในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาชุมชนร่วมกัน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)เชื่อมประสานและกระตุ้นองค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายสนับสนุนทรัพยากรเพื่อสื่อสารให้ประชาชนผู้สนในใจหันมามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของชุมชนด้วยการเป็นแกนนำประจำครอบครัว ผู้รับผิดชอบดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนตลอดจนสภาวะแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดีทั้งนี้ไม่เพียงแต่ใช้เทคนิคและกระบวนการสร้างความครอบคลุมประชากรจำนวนมากด้วยยุทธศาสตร์ใช้ระบบผู้นำการเปลี่ยนแปลง(อสม.หรือเครือข่ายสร้างสุขภาพ)ช่วยทอนจำนวนการครอบคลุมให้อยู่ในวิสัยที่จะบริหารจัดการได้แต่ให้ความสำคัญกับเทคนิคและกระบวนการประชาคม เพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละปัจจัยนั้นมีความสัมพันธ์กันเกี่ยวเนื่องและประกอบกันขึ้นมาเป็นชุมชนการที่จะทำให้ชุมชนมีระบบการสร้างสุขภาพอย่างสมบูรณ์แบบต้องคำนึงถึงทุกๆปัจจัยโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนประกอบกันได้อย่างสมบูรณ์โดยที่ทุกส่วนก็ต้องร่วมมือร่วมใจที่จะสร้างชุมชนให้แข็งแรงภายใต้ระบบการจัดการที่ดีเหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง
ตำบลโต๊ะเด็ง เป็นตำบลที่มีปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่างจากรายงานสภาวะสุขภาพของประชาชนตำบลโต๊ะเด็ง ปี 2556-2559 ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนังซึ่งมีผลกระทบมาจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ไม่ถูกสุขลักษณะและในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ตามลำดับซึ่งที่ผ่านมาการแก้ปัญหาสุขภาพ มักเกิดแบบระบบพึ่งพา และรัฐเป็นผู้จัดให้ ชุมชนขาดความตระหนัก และการแสดงบทบาทในการดูแลตนเองในการสร้างสุขภาพไม่ถูกต้อง รวมทั้งผู้นำที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงขาดทักษะในการค้นหาปัญหา การแก้ไข และขากกระบวนการเรียนรู้การดูแลสุขภาพตามวิถีชุมชนดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่ายเพื่อนำไปสู่หมู่บ้านจัดการสุขภาพขึ้นเพื่อเสริมสร้างให้แกนนำให้มีทักษะ การจัดการระบบสุขภาพในหมู่บ้านเริ่มต้นจากการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยการปรับทัศนคติและบทบาท เสริมสร้างและพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพในการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเองผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบทำให้เกิดเวทีประชาคมสุขภาพ สังเคราะห์บทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพชุมชนจากประสบการณ์จริง องค์ปกครองท้องถิ่นมีบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง วางแผน ระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนโครงการสุขภาพชุมชน ประชาชนและชุมชนมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ทำให้ลดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนตลอดจนลดอัตราป่วยตายในกลุ่มโรคไม่ติดต่อลงได้ เกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1ชุมชนสามารถค้นหาปัญหาสาธารณสุขในชุมชน และร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนได้ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางด้านองค์ความรู้

ข้อที่ 1ชุมชนสามารถค้นหาปัญหาสาธารณสุขในชุมชน และร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนได้ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางด้านองค์ความรู้

2 ข้อที่ 2.แกนนำเครือข่าย มีทักษะในการจัดระบบการดูแลสุขภาพของชุมชนได้
  1. ผ่านการประเมินเป็นหมู่บ้านจัดการสุขภาพ
3 ข้อที่ 3.แกนนำเครือข่าย สามารถเขียนโครงการของชุมชนหรือแผนพัฒนาสุขภาพของหมู่บ้านได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงแนวทางให้กับกลุ่มผู้นำชุมชน อบต.อสม.และแกนนำต่างๆในชุมชน 2.คัดเลือกผู้นำชุมชน อบต.อสม.และแกนนำต่างๆในชุมชน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสามารถถ่ายทอดความรู้ มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติงานมีคุณภาพ หรือเป็นบุคคลที่ได้รับความศรัทธาจากชุมชน 3.จัดอบรมกระบวนการในชุมชน เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับแกนนำ โดยเพื่อปรับทัศนคติและบทบาท สร้างจิตสำนึก เสริมสร้างและพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพ ให้มีประสบการณ์และเข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้กระบวนการ และการจัดการสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.แกนนำเครือข่ายมีทักษะในการจัดการสุขภาพในชุมชน มีความสามารถในการค้นหาปัญหาและทำแผนพัฒนาสุขภาพของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคนในชุมชนมีการเรียนรู้ ตามธรรมชาติผ่านประสบการณ์จริง ในการจัดระบบการจัดการสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและเหมาะสมตามสภาพพื้นที่โดยมีองค์กรปกครองท้องถิ่นบริหารการเปลี่ยนแปลงในการจัดการสุขภาพของคน ประชาชนมีความตระหนักในบทบาทหน้าที่ ให้ความร่วมมือในการดำเนินมาตรการทางเทคนิคและสังคม ให้ภาคประชาชนและชุมชนได้กระทำด้วยตนเองอย่างแท้จริงด้วยการจัดระบบการจัดการคน องค์ความรู้ และทุนของชุมชน ส่งผลสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2560 10:43 น.