กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ23 มีนาคม 2561
23
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ผลการดำเนินงาน โครงการทุ่งหว้าวัยใส ห่างไกลฟันผุ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งหว้า ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย เด็กก่อนวัยเรียนจำนวน 92 คน ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 80 คน โดยมีวัตถุประสงค์
    1. เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน
    2. เพื่อบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน
    3. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน
    4. เพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนได้ด้วยตนเอง
    5. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีการดำเนินโครงการในวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2561 วันที่ 9 มีนาคม 2561 และวันที่ 23 มีนาคม 2561 สำหรับผลการดำเนินโครงการสรุปได้ดังนี้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.1 ผลการประเมินกิจกรรมแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้านของเด็กก่อนวัยเรียน ตัวชี้วัดข้อที่ 1 ร้อยละ 70 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 มีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน ตารางที่ 1 แสดงจำนวนและร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 มีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน (N = 92)

ระดับชั้น ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่บ้าน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน แปรง ไม่แปรงแปรง ไม่แปรง แปรง ไม่แปรง จำนวน %จำนวน %จำนวน %จำนวน%จำนวน% จำนวน% อนุบาล146 50 77.6 35 3818 19.6 35 381819.6 อนุบาล2 31 33.7 88.7 3335.96 6.533 35.96 6.5 รวม77 83.715 16.3 6873.924 26.168 73.92426.1 จากตารางที่ 1 ผลการประเมินพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้านของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2พบว่ามีนักเรียนที่มีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้านจำนวน 68 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 92 คน คิดเป็นร้อยละ 73.9 โดยในระดับชั้นอนุบาล 1 คิดเป็นร้อยละ 38 และในระดับชั้นอนุบาล 2 คิดเป็นร้อยละ 35.9 สรุปจากตัวชี้วัดข้อที่ 1 นักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 มีพฤติกรรมการแปรงฟันเป็นประจำทุกวัน ทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้านจำนวน 68 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 92 คน คิดเป็นร้อยละ 73.9 ซึ่งถือว่า ผ่านตัวชี้วัดโครงการ 1.2 ผลการประเมินกิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน ตัวชี้วัดข้อที่ 2 ได้กิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน ผลการดำเนินงาน ได้จัดกิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน โดยให้ครูผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการคิดรูปแบบของกิจกรรม และครูผู้ดูแลเด็กสามารถนำกิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมไปใช้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กก่อนวัยเรียนโดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

กิจกรรมหลักกิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียนวิธีการดำเนินการ 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงเพลง - ให้เด็กเต้นประกอบเพลง เจ้าฟันน้อย และเพลง ฟ.ฟันสวยจัง 2. กิจกรรมกลางแจ้ง
เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ- ปาหรือเตะลูกบอลทำลายเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคฟันผุและอาหารที่ส่งผลทำให้เกิดโรคฟันผุ
- เลือกวิ่งเก็บอาหาร ผัก และผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อฟัน 3. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผล
และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน- เล่านิทานโดยการใช้หุ่นนิ้วมือประกอบ - สอนแปรงฟัน โดยใช้ภาพประกอบการแปรงฟันตามเหล่าสัตว์น่ารัก และโมเดลสอน
แปรงฟัน 4. กิจกรรมสร้างสรรค์
เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ- ให้เด็กระบายสีเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก (อาหาร, แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, ฟันแข็งแรง,
ฟันผุ) และเล่าเรื่องจากภาพที่ระบายสี - ปั้นดินน้ำมันรูปอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน
5. กิจกรรมเสรี
เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับสื่อ โดยอาจมีการเล่นบทบาทสมมติและเล่นเลียนแบบในมุมต่าง ๆ - ให้เด็กเล่นแสดงบทบาทสมมติ โดยการจัดเป็นมุมหมอฟัน
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
เป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกาง่าย ๆ ช่วยให้เด็กได้รู้จักการสังเกต- แผนที่ช่วยพา (ให้เด็ก ๆ เดินตามคำสั่ง ยกตัวอย่างเช่น แสตมป์ช่วยพาน้องแป้งไปหา
คิดหาเหตุผลและเกิดความคิดรวบยอด ยาสีฟันหน่อยครับ)

สรุปจากตัวชี้วัดข้อที่ 2 ได้กิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กก่อนวัยเรียน โดยครูผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการคิดรูปแบบของกิจกรรม และสามารถนำกิจกรรมบูรณาการทันตสุขภาพร่วมกับกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมไปใช้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งถือว่า ผ่านตัวชี้วัดโครงการ 1.3 ผลการประเมินกิจกรรมอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ตัวชี้วัดข้อที่ 3 ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหาร ที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการได้รับความรู้ ตารางที่ 3 แสดงจำนวนผู้ที่ตอบถูกในช่วงก่อนได้รับความรับความรู้และหลังได้รับความรับ ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่อง
ปากของเด็กก่อนวัยเรียน สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก จำแนกตามรายข้อ

ข้อที่ข้อความ จำนวนผู้ที่ตอบถูก (คน) ก่อนหลัง (N=6) (N=6) 1ฟันของคนเรามีทั้งหมด 3 ชุด คือ ฟันน้ำนม ฟันแท้ และฟันปลอม5 6 2ฟันน้ำนมมีทั้งหมด 20 ซี่5 6 3การที่เด็กรับประทานขนมกรุบกรอบมีผลต่อการเกิดฟันผุ56 4สาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ คือ เกิดจากแมงกินฟัน4 5 5การที่เด็กหลับคาขวดนมมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ66 6โรคฟันผุ เป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม6 6 7การเคี้ยวอาหาร เป่าอาหาร อมอาหารแล้วให้เด็กรับประทาน เป็นการแพร่เชื้อโรคฟันผุจากแม่สู่ลูกได้5 6 8การที่เด็กกินนมผงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุมากกว่ากินนมแม่3 6 9 การที่เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป เช่น การกลืนยาสีฟัน จะทำให้ฟันผิดปกติ3 6 10 การแปรงฟันให้เด็กที่ถูกวิธี คือ การแปรงแบบถูไปถูมา 3 6 11เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุครบ 2 ขวบ25

ตารางที่ 3 (ต่อ) แสดงจำนวนผู้ที่ตอบถูกในช่วงก่อนได้รับความรับความรู้และหลังได้รับความรับ
ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ ช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก จำแนกตามรายข้อ

ข้อที่ข้อความจำนวนผู้ที่ตอบถูก (คน) ก่อน หลัง
(N=6) (N=6) 12แปรงสีฟันที่ดีควรมีลักษณะขนแปรงแข็ง และปลายแหลม 6 6 13การถอนฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดมีผลต่อการขึ้นของฟันแท้ และทำให้ฟันแท้ซ้อนเก ไม่เป็นระเบียบ 6 6 14ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมกับเด็กอายุ 3 - 5 ปี ในการแปรงฟันแต่ละครั้งมีขนาดเท่าความกว้างของแปรง 4 5 15ควรพาลูกไปพบทันตบุคลากรอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 5 6 16การทาฟลูออไรด์วานิชทำให้ฟันผุ 56 17เมื่อเด็กปวดฟันแล้วต้องถอน 66 18โรคฟันผุเป็นธรรมชาติของเด็ก 65 19เมื่อเด็กปวดฟันสามารถไปอุดฟันได้46 20ควรพาเด็กมาเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 6 เดือนครั้ง56

จากตารางที่ 3 การประเมินครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนทั้งก่อนได้รับความรู้และหลังได้รับความรู้ พบว่า
ก่อนได้รับความรู้ มีผู้ทำแบบประเมินจำนวน 6 คน ข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกมากที่สุดคือ ข้อที่ 5การที่เด็กหลับคาขวดนมมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ ข้อที่ 6 โรคฟันผุเป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรมข้อที่ 12 แปรงสีฟันที่ดีควรมีลักษณะขนแปรงแข็ง และปลายแหลม ข้อที่ 13 การถอนฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดมีผลต่อการขึ้นของฟันแท้ และทำให้ฟันแท้ซ้อนเก ไม่เป็นระเบียบ ข้อที่ 17 เมื่อเด็กปวดฟันแล้วต้องถอนและข้อที่ 18 โรคฟันผุเป็นธรรมชาติของเด็ก มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 6 คน ส่วนข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกน้อยที่สุดข้อที่ 11 เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุครบ 2 ขวบ มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 2 คน
หลังได้รับความรู้ มีผู้ทำแบบประเมินจำนวน 6 คน ข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกมากที่สุดคือ ข้อที่ 1 ฟันของคนเรามีทั้งหมด 3 ชุด คือ ฟันน้ำนม ฟันแท้ และฟันปลอม ข้อที่ 2 ฟันน้ำนมมีทั้งหมด 20 ซี่ ข้อที่ 3 การที่เด็กรับประทานขนมกรุบกรอบมีผลต่อการเกิดฟันผุ ข้อที่ 5 การที่เด็กหลับคาขวดนมมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ ข้อที่ 6 โรคฟันผุ เป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม ข้อที่ 7 การเคี้ยวอาหาร เป่าอาหาร อมอาหารแล้วให้เด็กรับประทาน เป็นการแพร่เชื้อโรคฟันผุจากแม่สู่ลูกได้ ข้อที่ 8 การที่เด็กกินนมผงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุมากกว่ากินนมแม่ ข้อที่ 9 การที่เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป เช่น การกลืนยาสีฟัน จะทำให้ฟันผิดปกติ ข้อที่ 10 การแปรงฟันให้เด็กที่ถูกวิธี คือ การแปรงแบบถูไปถูมา ข้อที่ 12 แปรงสีฟันที่ดีควรมีลักษณะขนแปรงแข็ง และปลายแหลม ข้อที่ 13 การถอนฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดมีผลต่อการขึ้นของฟันแท้ และทำให้ฟันแท้ซ้อนเก ไม่เป็นระเบียบ ข้อที่ 15 ควรพาลูกไปพบทันตบุคลากรอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ข้อที่ 16 การทาฟลูออไรด์วานิชทำให้ฟันผุข้อที่ 17 เมื่อเด็กปวดฟันแล้วต้องถอน ข้อที่ 19 เมื่อเด็กปวดฟันสามารถไปอุดฟันได้ และข้อที่ 20 ควรพาเด็กมาเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 6 เดือนครั้ง มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 6 คน ส่วนข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 4สาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ คือ เกิดจากแมงกินฟัน ข้อที่ 11 เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุครบ 2 ขวบ ข้อที่ 14 ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมกับเด็กอายุ 3 - 5 ปี ในการแปรงฟันแต่ละครั้งมีขนาดเท่าความกว้างของแปรง และข้อที่ 18 โรคฟันผุเป็นธรรมชาติของเด็ก มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 5 คน ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยความรู้ก่อน-หลังการได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและ การบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัย สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก การประเมินความรู้ จำนวน (คน) MeanS.D. Sig. ( 2 -tailed )

ก่อนการได้รับความรู้ (Pre – test) 615.83 1.72 0.013

หลังการได้รับความรู้ (Post – test)619.33 1.03 0.013 จากตารางที่ 4 การประเมินความรู้ก่อนและหลังได้รับความรู้ พบว่า ก่อนได้รับความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 15.83 ± 1.72 คะแนน และหลังได้รับความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้เฉลี่ยเท่ากับ 8.16 ± 1.57 คะแนน และจากการทดสอบทางสถิติ paired simple t-test พบว่ามีค่านัยสำคัญ เท่ากับ 0.013 แสดงว่า ครูผู้ดูแลเด็ก มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปจากตัวชี้วัดข้อที่ 3 ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภายหลังจากการได้รับความรู้ซึ่งถือว่า ผ่านตัวชี้วัดโครงการ 1.4 ผลการประเมินกิจกรรมอบรมผู้ปกครอง
ตัวชี้วัดข้อที่ 4 ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังจากการได้รับความรู้ ตารางที่ 5 แสดงจำนวนผู้ที่ตอบถูกในช่วงก่อนได้รับความรู้และหลังได้รับความรู้ในเรื่องการดูแล สุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน
สำหรับผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน จำแนกตามรายข้อ

ข้อที่ข้อความจำนวนผู้ที่ตอบถูก (คน) ก่อนหลัง
(N=74)(N=74) 1 ฟันของคนเรามีทั้งหมด 3 ชุด คือ ฟันน้ำนม ฟันแท้ และฟันปลอม 46 44 2 ฟันน้ำนมมีทั้งหมด 20 ซี่ 53 60 3 การที่เด็กรับประทานขนมกรุบกรอบมีผลต่อการเกิดฟันผุ 65 69 4 สาเหตุของการเกิดโรคฟันผุ คือ เกิดจากแมงกินฟัน 3455 5 การที่เด็กหลับคาขวดนมมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ6569 6 โรคฟันผุ เป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม 24 70 7 การเคี้ยวอาหาร เป่าอาหาร อมอาหารแล้วให้เด็กรับประทาน เป็นการแพร่เชื้อโรคฟันผุจากแม่สู่ลูกได้ 3039 8 การที่เด็กกินนมผงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุมากกว่ากินนมแม่ 5160 9 การที่เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป เช่น การกลืนยาสีฟัน จะทำให้ฟันผิดปกติ 20 39 10 การแปรงฟันให้เด็กที่ถูกวิธี คือ การแปรงแบบถูไปถูมา3857 11 เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุครบ 2 ขวบ 4732 12 แปรงสีฟันที่ดีควรมีลักษณะขนแปรงแข็ง และปลายแหลม 2765 13 การถอนฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดมีผลต่อการขึ้นของฟันแท้ และทำให้ฟันแท้ซ้อนเก ไม่เป็นระเบียบ 3350 14 ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมกับเด็กอายุ 3 - 5 ปี ในการแปรงฟันแต่ละครั้งมีขนาดเท่าความกว้างของแปรง 2448 15 ควรพาลูกไปพบทันตบุคลากรอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 3365 16 การทาฟลูออไรด์วานิชทำให้ฟันผุ 2460 17 เมื่อเด็กปวดฟันแล้วต้องถอน 35 56 ตารางที่ 5 (ต่อ) แสดงจำนวนผู้ที่ตอบถูกในช่วงก่อนได้รับความรู้และหลังได้รับความรู้ในเรื่อง การดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของ เด็กก่อนวัยเรียน สำหรับผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน จำแนกตามรายข้อ

ข้อที่ข้อความจำนวนผู้ที่ตอบถูก (คน) ก่อน หลัง (N=74) (N=74) 18 โรคฟันผุเป็นธรรมชาติของเด็ก49 51 19 เมื่อเด็กปวดฟันสามารถไปอุดฟันได้ 25 48 20 ควรพาเด็กมาเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 6 เดือนครั้ง 57 70 จากตารางที่ 5 การประเมินผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนทั้งก่อนได้รับความรู้และหลังได้รับความรู้ พบว่า
ก่อนได้รับความรู้ มีผู้ทำแบบประเมินจำนวน 74 คน ข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกมากที่สุดคือ ข้อที่ 3 การที่เด็กรับประทานขนมกรุบกรอบมีผลต่อการเกิดฟันผุ และ ข้อที่ 5 การที่เด็กหลับคาขวดนมมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุ มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 65 คน ส่วนข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกน้อยที่สุดคือ ข้อที่ 9 การที่เด็กได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป เช่น การกลืนยาสีฟัน จะทำให้ฟันผิดปกติ มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 20 คน หลังได้รับความรู้ มีผู้ทำแบบประเมินจำนวน 74 คน ข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกมากที่สุดคือ ข้อที่ 6 โรคฟันผุเป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม และข้อที่ 20 ควรพาเด็กมาเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อย 6 เดือนครั้ง มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 70 คน ส่วนข้อที่มีผู้ที่ตอบถูกน้อยที่สุดข้อที่ 11 เด็กควรเลิกดื่มนมจากขวดเมื่ออายุครบ 2 ขวบ มีผู้ที่ตอบถูกทั้งหมดจำนวน 32 คน
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยความรู้ก่อน-หลังการได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและ การบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน สำหรับผู้ปกครอง ของเด็กก่อนวัยเรียน การประเมินความรู้ จำนวน (คน) Mean S.D.sig. ( 2 – tailed )
ก่อนการได้รับความรู้ (Pre – test) 74 8.892.79
หลังกา (Post – test) 74 13.892.63 0.000

จากตารางที่ 6 การประเมินความรู้ก่อนและหลังได้รับความรู้ พบว่า ก่อนได้รับความรู้ผู้ปกครองมีความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 8.89 ± 2.79 คะแนน และหลังได้รับความรู้ผู้ปกครองมีความรู้เฉลี่ยเท่ากับ 13.89 ± 2.63 คะแนน และจากการทดสอบทางสถิติ paired simple t-test พบว่ามีค่านัยสำคัญเท่ากับ 0.000 แสดงว่า ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปจากตัวชี้วัดข้อที่ 4 ผู้ปกครองมีความรู้และสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ภายหลังจากการได้รับความรู้ ซึ่งถือว่า ผ่านตัวชี้วัดโครงการ 1.5 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ตัวชี้วัดข้อที่ 5 เด็กก่อนวัยเรียน ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจเฉลี่ยต่อโครงการในระดับมากขึ้นไป (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.50 จากคะแนนเต็ม 5) ตารางที่ 7 แสดงจำนวนและร้อยละของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 ที่มีระดับความพึงพอใจต่อโครงการ

การแปลผลระดับความพึงพอใจ จำนวน (N = 92) ร้อยละ

ระดับมาก 7783.8

ระดับปานกลาง12 13.3
ระดับน้อย32.9 จากตารางที่ 7 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาล 1-2 โดยวิธีการเลือก Emoticon ที่ตรงกับความรู้สึกของเด็กก่อนวัยเรียนมากที่สุด พบว่า เด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่เลือก Emoticon รูปยิ้มที่หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 83.8 มีเด็กที่เลือก Emoticon รูปหน้านิ่ง ที่หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 13.3 และมีเด็กที่เลือก Emoticon รูปหน้าบึ้ง ที่หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจที่มีต่อโครงการของครูผู้ดูแล เด็ก และผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน จำแนกตามรายข้อ
ข้อที่ เกณฑ์การประเมิน Mean S.D.ระดับความ พึงพอใจ 1 การประชาสัมพันธ์การเข้าร่วมกิจกรรม 4.480.59 ดีมาก 2 ความเหมาะสมของสถานที่ที่ใช้ในการทำกิจกรรม 4.480.50 ดีมาก 3 ความพร้อมของการจัดโครงการ/กิจกรรม 4.330.53 ดีมาก 4 ความเหมาะสมของระยะเวลาในการทำกิจกรรม 4.25 0.70 ดีมาก 5 ลำดับขั้นตอนและความต่อเนื่องของกิจกรรม 4.31 0.68 ดีมาก 6 ความหลากหลายของกิจกรรม 4.21 0.69 ดีมาก 7 ประโยชน์และความรู้ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม4.540.59 ดีมาก 8 ควรให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีก4.570.61 ดีมาก รวม4.590.55 ดีมาก

จากตารางที่ 8 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการของครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน จำแนกตามรายข้อพบว่า ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน มีความพึงพอใจต่อโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ± 0.55 ข้อที่มีผู้ให้คะแนนความพึงพอใจมากที่สุดคือ ข้อที่ 8 ควรให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ± 0.61 และข้อที่มีผู้ให้คะแนนความพึงพอใจน้อยที่สุดคือข้อที่ 6 ความหลากหลายของกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ± 0.69

ตารางที่ 9 แสดงจำนวนและร้อยละของการประเมินระดับความพึงพอใจที่มีต่อโครงการของครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง

ระดับความพึงพอใจ ช่วงคะแนนเฉลี่ย จำนวน (N = 80 คน)ร้อยละ ดีมาก4.21 – 5.00 5062.5 ดี3.41 – 4.20 28 35.0 ปานกลาง2.61 – 3.402 2.5 พอใช้1.81 - 2.6000.0 ควรปรับปรุง1.00 - 1.8000.0 หมายเหตุ : จำนวนครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 6 คน ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 74 คน รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 80 คน จากตารางที่ 9 การประเมินระดับความพึงพอใจต่อโครงการของครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง พบว่า ครูและผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับดี จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 35.0 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 สรุปตัวชี้วัดข้อที่ 5 เด็กก่อนวัยเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 83.8 ส่วนครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากขึ้นไป จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 97.5 ซึ่งถือว่า ผ่านตัวชี้วัดโครงการ