กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 4 บ้านแหลมแชง ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 7/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 4 ตำบลควนขนุน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรม อสม.หมู่ที่ 4 ตำบลควนขนุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็มเพิ่มผัก ออกกำลังกาย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้กลยุทธ์การชี้นำด้านสุขภาพ การเพิ่มความสามารถ และการไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ด้านสขภาพและกระบวนการเรียนรู้ คือการวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างอนาคตร่วมกัน เพื่อกระตุ้นเสริมพลังความคิด และการมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สภาพความต้องการที่แท้จริง และสามารถกำหนดแนวทางตอบสนองความต้องการของตนเอง และชุมชนได้ตามศักยภาพใจ บริบทของชุมชน ซึ่งสอดคล้องแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย ปัจจัยภายในชุมชน ปัจจัยภายนอก กิจกรรมสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการ การประชุมค้นหากลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจ การจัดกิจกรรมเรียนรู้การดูแลสุขภาพองค์รวม ทั้งเจ้าของสุขภาพและญาติในครอบครัวที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยมีทีม อสม.ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไสนายขัน เป็นกลไกพี่เลี้ยงในการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อสร้างกระแสการสร้างสุขภาพ ทั้งนี้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และจากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนฟน้าที่ว่า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้ดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรคให้บรรลุผลสำเร็จ และได้ขยายขอบเขตการบริการส่งเสริมสุขภาพไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิในการรักษาทุกประเภท เพื่อให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3 อ.เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน ในปี 2559 จากผลการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 277 คน พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 49.82 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวนร้อยละ 52.05 จะเห็นได้ว่าผลจากการดำเนินงาน ประชากรยังไม่มีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ยังไม่ถูกต้องครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นการดำเนินการหลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและเป็นการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังอย่างยั่งยืน โดยใช้หลัก 3 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์ เข้ามาดำเนินการอย่างต่อเนื่องในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการกินผัก ผลไม้ลดวันละอย่างน้อย 5 ขีดขึ้นไป(ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด

 

2 2.เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย สม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการกินผัก ผลไม้สด และลดอาหารไขมัน ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เพื่อสร้างชุมชนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของชุมชน -ประชุม อสม.และค้นหากลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจและประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกมีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน -จัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ อุดมคติเพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวม -ประชาสัมพันธ์โครงการภายในชุมชน 2.เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยง ภาคีสุขภาพในชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาวะชุมชน รู้เท่าทันมีศักยภาพและคุณภาพ -ประชุมกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียชี้แจงโครงการในที่ประชุมตามกลุ่มเป้าหมาย -ค้นหาและประเมินภาวะเสี่ยงด้านพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเสี่ยง -ให้ อสม.คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงที่มีจิตอาสาและสนใจสุขภาพเข้าอบรมให้ความรู้ในการดูแลครอบครัว 3.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีกลไลประสานการพัฒนาสุขภาพชุมชนเป็นทีม -ประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเป้าหมายและทีมสุขภาพในชุมชน -จัดอบรมหลักการบริโภคอาหาร ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม และการออกกำลังกายในชุมชน -ทำสื่อประชาสัมพันธ์ 4.จัดลานกิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชน และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 100 ของ ม.4 ไม่เป็นผู้ป่วยใหม่ของชุมชน 2.กลุ่มเสี่ยงและญาติของกลุ่มเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งคนมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภาวะเสี่ยงแทรกซ้อน 3.ร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพการออกกำลังกายและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2017 11:28 น.