กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ลดอันตรายต่อสุขภาพ จากน้ำมันทอดซ้ำ ประจำปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L8369-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลปะลุรู
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2561 - 27 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,370.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซูไวบ๊ะห์ สมานธรรมกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.073,101.905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 132 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทำไมน้ำมันทอดซ้ำจึงกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพเนื่องเพราะการใช้น้ำมันทอดด้วยความร้อน สูงๆ ระหว่างกระบวนการทอดเกิดการเร่งการเสื่อมสลายของน้ำมัน ทำให้เกิดการแตกตัวของน้ำมันเป็นสารโพลาร์ในระหว่างการทอดอาหาร สารประกอบดังกล่าว เช่น กรดไขมันอิสระโมโนเอซิลกลีเซอรอล กรดไขมันทรานซ์ เป็นต้น ดังนั้น ปริมาณสารโพลาร์จึงสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดการเสื่อมสภาพของน้ำมันได้ และยิ่งเมื่อนำมาทอดซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น ส่งผลให้น้ำมันมีสีดำขึ้น มีกลิ่นเหม็นหืน มีฟองและเหนียวหนืดขึ้น ยิ่งทำให้น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารนั้นกลายเป็นสารพิษอันตรายโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ ตัวด้วยซ้ำ การใช้น้ำมันทอดซ้ำจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยประชาชนทั้งผู้ขายอาหารและผู้บริโภคอาหาร ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุขเองก็ตระหนักว่าน้ำมันทอด ซ้ำที่ใช้ในการทอดอาหารมีสารโพลาร์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และอาจมีผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูง นอกจากคนกินจะเสี่ยงเป็นมะเร็งแล้ว คนขายก็เช่นกัน เนื่องจากไอระเหยของน้ำมันที่เสื่อมสภาพจะมีสารก่อมะเร็ง เมื่อสูดดมเข้าไปทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงการทำหน้าที่เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ว่า ที่ผ่านมาหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารของ อย. และหน่วยเคลื่อนที่ฯ ส่วนภูมิภาค รวม 12 ศูนย์ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยของการใช้น้ำมันทอดอาหาร โดยเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดอาหารตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารโพลาร์โดยใช้เครื่อง มือวัดแบบรวดเร็ว และผลจากการเฝ้าระวังเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดอาหารจากสถานที่จำหน่ายอาหารทั่ว ประเทศ และกรุงเทพฯ 5 ปีย้อนหลัง พบว่าตกมาตรฐานเพิ่มขึ้นทุกปี ผลการเฝ้าระวังปี 2555 เก็บตัวอย่างทั้งหมด 5,995 ตัวอย่าง ตกมาตรฐานร้อยละ 9.91 โดยพบว่า ตกมาตรฐานในตลาดสดและตลาดนัดเป็นส่วนใหญ่ ผลจากการตรวจเฝ้าระวังพบว่า น้ำมันทอดอาหารที่มีสารโพลาร์เกินร้อยละ 25 ซึ่งเกินมาตรฐานที่กำหนดเช่น ไก่ป๊อป แคปหมู ขนมฝักบัว มันฝรั่ง ไส้กรอกลูกชิ้น และไก่ทอดเป็นต้น(http://www.thaihealth.or.th/Content/16460- น้ำมันทอดซ้ำ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย .html. สืบค้นข้อมูลเมื่อ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๐) น้ำมันทอดอาหารเมื่อใช้แล้วต้องทิ้งให้ถูก ที่ใส่ถังรวบรวมไว้ ถ้าทิ้งลงแม่น้ำลำคลองผ่านไปตามท่อก็ทำให้ท่ออุดตัน แม่น้ำลำคลองเน่าเสีย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ในยุคสมัยหนึ่งที่รัฐ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้โทษพิษภัยของการใช้น้ำมันทอดซ้ำ

2.ผู้ประกอบการร้านอาหารรู้โทษของการใช้น้ำมันซ้ำ

44.00
2 2เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยจากอาหารที่ปรุงด้วยวิธีทอด

2.ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆที่เกิดจากใช้นำ้มันทอดซ้ำ

50.00
3 3.เพื่อรักษาด้านสิ่งแวดล้อม

3.ลดโรค มลพิษ ท่อน้ำอุดตัน ภายในเขตเทศบาล

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 สำรวจสถานประกอบการที่ใช้น้ำมันในการทอดอาหาร
3.2 ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจัดทำแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานการดำเนินการน้ำมันทอดซ้ำ
3.3 จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปะลุรู 3.4 จัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ตามโครงการ 3.5 ดำเนินการอบรมให้ความรู้
3.6 การจัดเก็บน้ำมันทอดซ้ำ
3.7 จัดทำเกียรติบัตรมอบให้กับผู้เข้าร่วมโครงการในการจัดเก็บน้ำมนทอดซ้ำ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ประกอบการมีความรู้โทษพิษภัยของการใช้นำมันทอดซ้ำ 2 กลุ่มเป้าหมายร่วมกิจกรรมเก็บน้ำมันทอดซ้ำ 3 ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการทอดและช่วยรักษาด้านสิ่งแวดล้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 10:51 น.