กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ(ไข้เลือดออก)
รหัสโครงการ 60-L5188-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 66,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรสา ชูศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.863,100.891place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากตำบลเกาะสะบ้า สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสลับกับเชิงเขา อากาศค่อนข้างชื้น มีโรคติดต่อที่พบบ่อย เช่นโรคอีสุกอีใส โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง และโรคไข้เลือดออก แต่ในส่วนของตำบลเกาะสะบ้า โรคติดต่อที่เป็นปัญหามาก จากการ ทำ SRM (ประชาคม) คือโรคไข้เลือดออก และเป็นโรคที่มีอัตราป่วยสูงมากใน ปี 2556 ถึง 633.86/แสนประชากร และลดลงในปี 2558 เป็น 250.21/แสนประชากร แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่สำคัญ ของตำบลเกาะสะบ้า และโรคนี้ยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ในการที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคนี้ให้หมดไป ในพื้นที่อำเภอเทพา พบการป่วยของโรคนี้ในทุกๆปี เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรค จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อลดอัตราการป่วย และสร้างนิสัยการป้องกันตนเองต่อโรคให้กับประชาชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและจำนวนยุงลาย ให้น้อยลง

1.จำนวนลูกน้ำและยุงลายลดน้อยลง

2 2. เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลเกาะสะบ้าลดลงต่ำกว่าเกณฑ์ คือไม่เกิน 50 ต่อแสน ประชากร

1.อัตราการป่วย ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

3 3. เพื่อให้องค์กรชุมชน ประชาชน มีความรู้ ตระหนัก เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในการควบคุมและป้องกัน โรคไข้เลือดออก

1.ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 66,720.00 1 66,720.00
20 ม.ค. 60 - 19 พ.ค. 60 รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย 0 66,720.00 66,720.00
  1. จัดทำตัวโครงการ/ขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและ อสม.
    1. ประสานงานโครงการไปยังโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กทุกโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการ
    2. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการรณรงค์
    3. ประชาสัมพันธ์ให้องค์กรชุมชน อสม ประชาชน ทราบทุกหมู่บ้าน เพื่อขอความร่วมมือ
    4. จัดสัปดาห์รณรงค์
    5. พ่นหมอกควัน และอื่นๆ
    6. สรุปและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    1. มีการดำเนินการทำลายแหล่งเพาพันธุ์ยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทุกหลังคาเรือน
    2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2560 ลดลง 4องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอ่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2560 15:15 น.