กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุน ปี 2561
รหัสโครงการ 61-l3042-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักเลขานุการกองทุน
วันที่อนุมัติ 2 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 38,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปิยะมาศ วงศ์อำนาจ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณพร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.844,101.336place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 พ.ย. 2560 30 พ.ย. 2560 6,600.00
2 1 ธ.ค. 2560 1 ธ.ค. 2560 6,600.00
3 6 ก.ค. 2561 6 ก.ค. 2561 6,600.00
4 6 ก.พ. 2561 6 ก.พ. 2561 9,000.00
5 6 ก.พ. 2561 6 ก.พ. 2561 10,000.00
รวมงบประมาณ 38,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 17 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(ข้อมูลจากเว็บไซต์วิเคราะห์ข้อมูลสัดส่วนเงินคงเหลือ)
150.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งที่ ค.00489/2556 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ลงวันที่ 9 เมษายน 2556 เพื่อดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557ประกอบกับปัจจุบัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(Long Term Care) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559นั้น ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุน ฯ เป็นไปตามอำนาจหน้าที่และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเปียะได้ปฏิบัติงานพิจารณา อนุมัติแผนงาน/โครงการ ได้ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนฯ ให้เป็นไปตามประกาศ ฯ ที่กำหนดไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
  • กองทุนสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน ภายใน เดือน ม.ค. จำนวนร้อยละ 60 และภายใน เดือน ก.ค.61 ร้อยละ 90
150.00 140.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

17.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

10.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

18.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,400.00 0 0.00
ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1 0 6,600.00 -
ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 2 0 6,600.00 -
ค่าเดินทางไปราชการคณะกรรมการกองทุนฯ 0 6,600.00 -
จัดซื้อวัสดุสำนักงานของกองทุนฯ 0 9,000.00 -
ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 3 0 6,600.00 -
  1. จัดทำโครงการเพื่อขอเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนฯ
  2. ดำเนินการประชุมร่วมกันวางแผน การดำเนินงาน และกำหนดห้วงเวลาในการประชุม
  3. ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการกองทุนฯ อนุกรรมการกองทุนฯ เพื่อกำหนดนัดหมาย
  4. จัดเตรียมการประชุม ได้แก่ สถานที่ในการประชุมและเอกสารต่าง ๆ ในการประชุม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชุมตามแผนงานที่กำหนด จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษากองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่กองทุน โดยการประชุมร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแผนสุขภาพของกองทุน ร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และถูกต้องตามประกาศฯ ที่กำหนดไว้ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามประกาศฯ ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 13:21 น.