กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รักษ์โลก รักษ์สุขภาพ
รหัสโครงการ 61-L3042-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพบ้านตาแกะ
วันที่อนุมัติ 14 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2561 - 4 พฤษภาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 4 มิถุนายน 2561
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาสือนะ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณพร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.844,101.336place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 มี.ค. 2561 28 มี.ค. 2561 100,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 360 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
480.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาใหญ่ที่ประชาชนประสบ เพราะสิ่งแวดล้อมถูกประชาชนทำลายไปมาก ก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาสุขภาพอนามัย ซึ่งขยะเป็นปัญหาหลักของสิ่งแวดล้อมที่ยากที่จะแก้ไข และสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้างหรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลอง ก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลมากมาย และสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ เมื่อมีขยะก็จะรวมกันกำจัดไปในคราวเดียวกัน ขยะมูลฝอยขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว แหล่งกำเนิดของเสียที่สำคัญ ได้แก่ ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่เกษตรกรรม การนำขยะไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ
1.อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ
2.น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ
3.แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
4.เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ 1 ก.ก. ต่อวัน

480.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 343,200.00 0 0.00
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 278,880.00 -
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 0 64,320.00 -

1.รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในโครงการในการร่วมกันพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านที่อยู่อาศัย วัด มัสยิด โรงเรียน สถานที่ราชการ ฯลฯเพื่อคัดเลือกครัวเรือนและชุมชนต้นแบบ 2.อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะให้แก่กลุ่มเป้าหมายในโครงการ จำนวน 700 คนโดยเชิญวิทยากรจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ให้ความรู้และฝึกการคัดแยกขยะ ที่ถูกต้องและถูกสุขลักษณะตามประเภทของขยะแต่ละชนิดจากครัวเรือน
3.ลงพื้นที่ติดตามประเมินครัวเรือนและชุมชนในการคัดแยกขยะ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการคัดแยกขยะ ครัวเรือนไหนมีการคัดแยกอย่างถูกต้องจะได้รับรางวัลครัวเรือนและชุมชนต้นแบบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ปริมาณขยะลดลง เด็กและเยาวชนประชาชนในตำบลตาแกะมีความเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนโครงการฯ ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และชุมชน
2.เกิดการมีส่วนร่วม มีความสามัคคี เสริมสร้างจิตสำนึกช่วยกันแก้ไขและลดปัญหามลพิษในชุมชน 3.ชุมชนมีความสะอาดเป็นระเบียบลดแหล่งเพาะพันธ์สัตว์นำโรค เช่น ยุง แมลงวัน แมลงหวี่ ฯ สภาพแวดล้อมดีขึ้นทำให้คนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 14:03 น.