กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในคณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ L8279-2-61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีและอสม.ชุมชนปะลุกานากอและชุมชนบือเจาะ เทศบาลตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มกราคม 2561 - 31 มกราคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กุมภาพันธ์ 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มสตรีและอสม.ชุมชนปะลุกานากอและชุมชนบือเจาะ เทศบาลตำบลบาเจาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหตุผลการฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ฝากครรภ์ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์ และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้องและทันเวลา ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆอาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยและได้รับการดูแลต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ ก็จะสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ก็สามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ได้ ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอดจากการตกเลือดหลังคลอด ทารกตายปริกำหนด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอด ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมารดารและทารกได้ จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัย มีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน พบว่ายังมีปัญหาหลายอย่าง ที่หญิงตั้งครรภ์ ยังไม่ทราบหรือไม่เห็นความสำคัญ เช่น ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้าและผลเลือดที่เจาะคัดกรองมีผลผิดปกติในบางตัว เช่น การติดเชื้อ HIVหากไม่ได้รับประทานยาต้านตั้งแต่เนินๆ เชื้อก็จะสามารถแพร่กระจายไปยังลูกในครรภ์ได้ หรือภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ขณะตั้งครรภ์หรือภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นขณะคลอดและหลังคลอด เช่น ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ ภาวะเด็กดิ้นผิดปกติ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ภาวะคลอดยาก และภาวะตกเลือดหลังคลอด การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ ความสำคัญของการตรวจหลังคลอด การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่ฝากครรภ์ตามนัดหมายจึงส่งผลให้ไม่สามารถดูแลครรภ์ได้ตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึง คุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ จนถึงระยะหลังคลอด รวมถึงการพัฒนาเด็กหลังคลอด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพและคลอดบุตรที่มีคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.กิจกรรมค้าหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไว้ก่อน 12 สัปดาห์ มีวิธีดำเนินการดังนี้ 1.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีเนื้อหาสำคัญดังนี้ - การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ - ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ - ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางกับการตั้งครรภ์ 1.2 การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวัง และติดตามภาวะเสี่ยง - เจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม. ทบทวนทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อวางแผนออกเยี่ยม - แจ้งหญิงตั้งครรภ์ถึงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน ขออนุญาตดูรายละเอียดการฝากครรภ์จากสมุดบันทึกสุขภาพสีชมพูและหากจำเป็นขออนุญาตหญิงตั้งครรภ์ประสานกับโรงพยาบาลเพื่อขอข้อมูล - การเยี่ยมดูแล การเฝ้าระวัง ติดตาม 1.3 สรุปผลดำเนินงานตามแผนโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด รวมไปถึงคลอดระยะเวลาหลัง
    1. หญิงตั้งครรภ์สามารถประเมินตัวเองได้ในการป้องกันภาวะเสี่ยงและอาการแทรกซ้อน
    2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามเกณฑ์คุณภาพ
    3. หญิงหลังคลอดไม่มีภาวะแทรกซ้อนและเห็นความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 15:56 น.