กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการภาคีเครือข่าย รพ.สต.บ้านนาหยา ร่วมใจเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการภาคีเครือข่าย รพ.สต.บ้านนาหยา ร่วมใจเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 9/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านนาหยา
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2016
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2017 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านนาหยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 365 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ คือ ปัญหาผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรคไม่ติดต่อดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วย และครอบครัวเป็นอย่างมาก ประเทศไทยมีแนวโน้มการป่วยและตายจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่อสูงอายุขึ้น มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง และเบากวานได้ง่าย มื่อเป็นโรคดังกล่าวระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง เป้นต้น จากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และให้บริการตรวจรักษาในคลินิกโรคเรื้อรังรพ.สต.บ้านนาหยา พบว่ามีผู้มีภาวะเสี่ยง และเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยรายใหม่ และผู้มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ในปีงบประมาณ 2559 มีผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 430 คน ร้อยละ 41.50 มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 280 คน ร้อยละ 27.02 ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ 10 คน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ 4 คน และผู้ป่วยติดเตียง จำนวน 8 คน ปัจจุบันแม้ว่าคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านนาหยา ได้มีทีม สหวิชาชีพ คือ มีแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพ ออกให้บริการตรวจรักษา เดือนละ 1 ครั้ง แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนที่ยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต ไม่ได้ และกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาจนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อน คณะกรรมการ อสม. รพ.สต.บ้านนาหยา ได้เห็นความสำคัญในเรื่องการเฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดยให้ภาคีเครือข่ายได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวด้วย จึงได้ร่วมกันระดมความคิด จัดทำโครงการภาคีเครือข่าย รพ.สต.บ้านนาหยา ร่วมใจเฝ้าระวังติดตามกลุ่มเสี่ยง และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสุงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

 

2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลิตสูง ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความโลหิตได้ดีขึ้น

 

3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน

 

4 4.เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน สมาชิก อบต. กรรมการ อสม. รพ.สต.บ้านนาหยา ตัวแทนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับบริการที่คลินิก และการติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 2.เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนัยสนุนงบประมาณจาก อบต.ควนขนุน 3.ประสานงานกับหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานตามโครงการ 4.จัดเตรียมอุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ คือ เครื่องวัดความดันโลหิต และแถบตรวจปริมาณเกลือในอาหาร 5.กำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานในคลินิก โดยมีรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้ -ให้บริการผู้ป่วยในคลินิกโรคเรื้อรัง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด -ผู้ป่วยรับประทานอาหารเช้าร่วมกัน -ผู้ป่วยและญาติเข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเสริมสร้างกำลังใจ -สอนและสาธิตการออกกำลังกาย การดูแลเท้า -รับการตรวจรักษาโดยทีมแพทย์ พยาบาล เภสัชกร -ตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อย 1 ครั้ง 6.ประสานงาน อสม. หรือ ผู้นำชุมชน ติดตามผู้ป่วยที่ไม่มารับการรักษาตามนัด 7.อสม.ติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ เดือนละ 1 ครั้ง 8.เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านนาหยา ร่วมกับ อบต.ควนขนุน ผู้นำชุมชน อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับความดันโลหิต ไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน 9.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง 2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ร้อยละ 60
3.ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือระดับความดันโลหิตไม่ได้ ทุกคนได้รับการเยี่ยมบ้าน 4.จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ลดลง ไม่พบผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต ระดับ 4 และ 5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2017 10:57 น.