กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดเหาด้วยสมุนไพร
รหัสโครงการ 60-L5188-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะสะบ้าและโรงเรียนอนุบาลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มกราคม 2560 - 30 มกราคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกฤศรดา พระไพรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.863,100.891place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 33 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลความสะอาดร่างกายของเด็กเล็กเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะ ทั้งนี้ เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะและดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนหนังศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียน เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคม รวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโรคโลหิตจางได้ด้วย โดยมากเด็กที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง และเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของเหา คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ การรักษาโรคเหาสมัยนี้มักนิยมใช้สารเคมีในการกำจัดซึ่งเมื่อใช้แล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของเด็กได้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกะสะบ้าจึงจัดทำโครงการกำจัดเหาในเด็กเล็กด้วยสมุนไพร เพื่อช่วยดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเหา และลดการสัมผัสสารเคมีของเด็กเล็กได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย หยุดการระบาดและแพร่กระจายของเหาในเด็กเล็กด้วยสมุนไพร

 

2 เพื่อช่วยให้ลดการนำสารเคมีมาใช้กับเด็กเล็กได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 7.00 1 7,188.00
7 ก.ค. 60 - 12 ธ.ค. 60 กิจกรรมการกำจัดเหาด้วยสมุนไพร 0 7.00 7,188.00

1จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจากประธานกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า 2 ประสานงานกับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 ทำกิจกรรมกำจัดเหาให้กับเด็ก 4 สรุปและรายงานผลการดำเนินกิจกรรมการกำจัดเหาด้วยสมุนไพร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1เด็กได้รับการรักษาจากโรคเหาด้วยสมุนไพรอย่างถูกวิธี และการแพร่ระบาดของเหาลดลง
2เด็กมีสุขภาพดีมีสมาธิ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2560 11:35 น.